Our Blog

Endotracheal intubation

ขนาดของท่อ Endotracheal tube (ET tube) จะหมายถึง internal diameter (millimetres) โดยขนาดที่นิยมใช้จะเริ่มตั้งแต่ 3.0mm ในแมว จนถึง 16.0mm ในสุนัขขนาดใหญ่ โดยควรเลือก

Read More >

Flat Blood Pressure Probe

มาทำความรู้จักกับ Flat Blood Pressure Probe องค์ประกอบสำคัญของเครื่อง Ultrasonic Doppler

Read More >

Orthopaedics and Pet Cares after tooth extraction

การผ่าตัดถอนฟันเป็นการทำศัลยกรรมในช่องปากสุนัขและแมวที่พบได้บ่อย แต่มักสร้างความยุ่งยากให้แก่สัตวแพทย์เพราะอะไรมาดูกันค่ะ

Read More >

wound care and wound management

การดูแลแผล (wound care หรือ wound management) เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการดูแลสัตว์เลี้ยง ซึ่งการปฏิบัติต่อบาดแผลอย่างถูกต้องจะช่วยให้การรักษาตัวของสัตว์เลี้ยงเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและลดระยะเวลาที่ต้องเผชิญกับความเจ็บปวดลงได้ โดยบทความนี้จะขอนำเสนอขั้นตอนการดูแลแผลในสัตว์เลี้ยงที่ควรปฏิบัติกันค่ะ

Read More >

Vet basic Ophthalmic surgery

ความผิดปกติหรือบาดแผลบริเวณตาที่พบในสัตว์เลี้ยงที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด (ophthalmic surgery) นั้น ต่างจากการผ่าตัดปกติทั่วไปเพราะเป็นบริเวณขนาดเล็กและต้องใช้ความละเอียดอ่อนทั้งฝีมือและอุปกรณ์ที่ต้องพิเศษกว่าอุปกรณ์ผ่าตัด soft tissue ทั่วไป บทความนี้จึงขอรวบรวมวัสดุเย็บและอุปกรณ์ผ่าตัดตาเบื้องต้นเพื่อเป็นประโยชน์ให้คุณหมอสัตวแพทย์ได้เป็นแนวทางในการเลือกใช้งานกันนะคะ

Read More >

External Coaptation

External Coaptation เป็นการพันเฝือกภายนอก เพื่อให้กระดูกที่หักเชื่อมกันได้อย่างสมบูรณ์ โดยการใช้ Vet-LITE ทั้งเฝือกแบบ Cast และ Splint เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหว

Read More >

Sutures and Suture selection

วัสดุเย็บในอุดมคติต้องมีคุณสมบัติคือ ผูกจับได้ถนัดมือ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของร่างกายน้อย ยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย ผูกปมได้แน่นหนามั่นคง ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหดตัว ไม่ดูดซับของเหลว(noncapillary action) ไม่ก่อให้เกิดการแพ้, ก่อมะเร็ง, ก่อให้เกิดสภาพแม่เหล็ก

Read More >

Orthopedic Surgery

การศัลยกรรมกระดูกทางสัตวแพทย์ในปัจจุบันนี้ มีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการศัลยกรรม เพื่อให้กระดูกที่หัก หรือแตก สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Pin , Plate , Screw ,Wire  

การใช้ Plate และ Screw สามารถช่วยให้กระดูกที่หัก  หรือแตกนั้นเกิดการเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด Plate และ Screw มีอยู่หลายรูปแบบในการใช้งาน ตามลักษณะการแตกหัก ตำแหน่ง รวมถึงชนิดของกระดูก

Screw นั้นเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเลือกใช้งานตามชนิดของกระดูกที่หัก หรือแตก

 

ชนิดของ Screw

Screw ที่เลือกใช้ในการศัลยกรรมกระดูกแบ่งได้ดังนี้

1. Cortical Screw
ใช้กับกระดูก Cortical Bone หรือกระดูกเนื้อแน่นเป็นกระดูกที่มีเนื้อกระดูกหนาแน่น และเรียงตัวกันเป็นชั้น จนกลายเป็นพื้นผิวของกระดูกเพื่อป้องกันโพรงภายใน และค้ำจุนร่างกาย

ลักษณะของ Screw จะมีระยะเกลียวที่แคบและถี่และแกนกลางของเกลียวที่หนา เพื่อให้มีความแข็งแรงมากในการยึด Cortical Bone ที่มีเนื้อกระดูกหนาแน่น

2.Cancellous Screw

ใช้กับกระดูก Cancellous Bone หรือกระดูกเนื้อนิ่มเป็นกระดูกที่มีเนื้อกระดูกเป็นลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยภายในโพรงกระดูก จึงมีความแข็งแรงน้อยกว่า Cortical Bone แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำ

ลักษณะของ Screw จะมีระยะเกลียวที่หางมากกว่ากับแกนกลางของเกลียวจะหนาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ Cortical Screw เพื่อให้มีพื้นที่ในการจับกระดูกCancellous Bone ที่มีเนื้อกระดูกนิ่มได้มาก

3. Self-tapping Screw

Self-tapping Screw เป็น Screw ที่สามารถทำเกลียวได้ด้วยตัวเอง

โดยปกติการใส่ Screw จำเป็นต้องใช้ Tap ในการทำเกลียวก่อนที่จะใส่ Screw ทุกครั้ง แต่สำหรับ Self-tapping Screw สามารถใส่ Screw ได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ Tap ในการทำเกลียวก่อน

Self-tapping Screw มีทั้งแบบ Cortical Self-tapping Screw และ Cancellous Self-tapping Screw

 

วิธีการดู Screw

แบบไหนเป็น Self-tapping เทียบกับ Screw ปกติ

1. Self-tapping Cortical Screw เทียบกับ Cortical Screw ปกติ

สังเกตที่ปลายเกลียวของ Screw ในส่วนของ Self-tapping ตรงปลายจะมีลักษณะตัดเฉียงที่เรียกว่า Cutting Flutes ซึ่ง Screw ปกติปลายจะไม่มีการตัดเฉียง ดังรูป

2. Self-tapping Cancellous Screw เทียบกับ Cancellous Screw ปกติ

สังเกตที่ปลายเกลียวของ Screw ในส่วนของ Self-tappingตรงปลายจะมีลักษณะเกลียวแหลมเหมือนตะปู ซึ่ง Screw ปกติปลายจะโค้งมนไม่แหลม ดังรูป

 

ข้อดี

Self-tapping Screw เทียบกับ Screw ปกต

สามารถใส่ Screw ได้ทันที และรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Tap ทำเกลียว ช่วยลดเวลาในการศัลยกรรมกระดูกได้

เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ Tap ทำเกลียว จึงทำให้ไม่ต้องมี Tap และอุปกรณ์อื่นที่ใช้รวมกัน จึงช่วยลดขั้นตอนในการทำและใช้อุปกรณ์ในการศัลยกรรมกระดูกน้อยกว่า

Self-tapping Screw จะสามารถทำเกลียวที่ยึดกับกระดูกได้แน่น เพราะมีเกลียวคมกว่า Screw แบบปกติ เพื่อช่วยในการเหนี่ยวนำให้เกิดเกลียว  รวมถึงปลายเกลียวลักษณะเป็นรอยตัดที่ช่วยในการกำจัดเศษของกระดูกเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัดขณะทำการไข Screw เข้าไปยังกระดูก

Cortical Self-tapping Screw สามารถใช้กับ Cortical Bone ที่มีชั้นกระดูกบาง รวมถึง Cancellous Bone ได้ แต่ใน Cancellous Bone ความสามารถในการยึดกระดูกของ Cortical Self-tapping Screw จะไม่ดีเท่ากับ Cancellous Self-tapping Screw

จากคุณลักษณะ และข้อดีต่าง ๆ ของ Self-tapping Screw ที่สามารถช่วยลดระยะเวลาในการศัลยกรรม รวมถึงช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ในการศัลยกรรมกระดูก  จึงทำให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มาจากการทำศัลยกรรมกระดูกลดลง ส่งผลให้ Self-tapping Screw เริ่มเป็นที่นิยม และถูกเลือกมาใช้ในการศัลยกรรมกระดูกมากขึ้นในปัจจุบัน

............................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

 

 

 

 

 

 

...................................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

...................................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

...................................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

Read More >

Osteoarthritis (OA)

โรคข้อเสื่อม

เป็นความผิดปกติจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนที่หุ้มผิวข้อต่อ และอาจมีการสูญเสียน้ำเลี้ยงข้อต่อหรือเยื่อหุ้มข้ออักเสบร่วมด้วยข้อที่มักพบปัญหา เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก เป็นต้น

สาเหตุ ของโรคข้อเสื่อมนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยต่างๆ ได้แก่

 

อายุ สัตว์ที่มีอายุมากจะเกิดความเสื่อมของข้อ 

 

 

 

สายพันธุ์ เช่น โกลเด้นริทรีฟเวอร์ เยอรมันเชพเพิร์ด ปอมเมอเรเนียน

 

 

 

โภชนาการ ที่ส่งผลต่ออัตราการเจริญโตและน้ำหนักตัวของสัตว์เลี้ยง

 

 

 

เคยมีประวัติการบาดเจ็บของกระดูกและข้อ

 

 

กิจวัตรประจำวัน เช่น ออกกำลังกายหนัก มีการกระเทือน ของข้อ อาศัยบนพื้นที่ลื่น

 

 

อาการที่บ่งชี้ ว่าน้องหมาของเราเป็นโรคข้อเสื่อม คือ 

 

 

ไม่ค่อยทำกิจกรรมไม่เล่นเหมือนเคย

 

 

 

 

นั่ง, นอน มากกว่า เดิน,วิ่ง

 

 

 

ก้าวเดินบนทางลาดชันหรือขึ้นลงบันได ลำบาก

 

 

 

มีอาการขากะเผลกไม่ลงน้ำหนักบนขาข้างที่เจ็บ

 

 

 

ร้องเจ็บหรือแสดงอาการปวดบริเวณข้อ ในกรณีที่มีการอักเสบของข้อ อาจพบว่ามีข้อบวมและมีไข้ร่วมด้วย

 

การรักษา หลังจากที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่ชัดโดยสัตวแพทย์แล้ว การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมมักจะต้องใช้การรักษาหลายๆ วิธีร่วมกัน เพื่อกำจัดปัจจัยโน้มนำต่างๆ และเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด โดยการรักษาจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 

1. รักษาด้วยยา

การใช้ยาลดปวด  ยาลดอักเสบ มักจะถูกใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการในระยะแรก เพื่อลดการอักเสบ และลดความเจ็บปวด ทำให้สุนัขสามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติ แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้ อาจจะมีผลข้างเคียงจึงควรคอยติดตามอาการและใช้ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ การใช้สารเสริมอาหารต่างๆ เช่น 

 

 

กลูโคซามีนและคอนดรอยติน ที่เป็นส่วนประกอบของน้ำเลี้ยงข้อต่อและช่วยในการชะลอความเสื่อมของกระดูกอ่อน

 

 

โอเมก้า3 (omega-3 fatty acid) ที่มีผลการวิจัยว่าสามารถช่วยลดการอักเสบและลดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อได้ 

 

การใช้สารเสริมอาหารจะมีผลข้างเคียงน้อย และสามารถให้ในระยะยาวได้

2.รักษาโดยไม่ใช้ยา

 

2.1 การควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกายเบาๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดการ กระเทือนข้อต่อ เช่น ว่ายน้ำ หรือเดินบน ลู่วิ่งในน้ำ

 

 

2.2 การทำกายภาพบำบัด เพื่อคงสภาพความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยควร มีการวางโปรแกรมการทำกายภาพโดย สัตวแพทย์ อาจมีการบำบัดด้วยเลเซอร์ อัลตราซาวด์ หรือกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดความเจ็บปวดและฟื้นฟูเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบ

 

การรักษาข้อเสื่อมมักใช้การรักษาทางยาและการรักษาโดยไม่ใช้ยาไปพร้อมๆ กัน  หากมีการรักษามาเป็นเวลานาน แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการรุนแรง สัตวแพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัด ซึ่งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทั้งสภาพและความรุนแรงของโรค รวมถึงความพร้อมของตัวสัตว์เลี้ยงและเจ้าของด้วย

 

 

...................................................
บทความโดย : BEC

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry

Read More >