Deep Skin Scrape

 เราพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ในสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของมักจะพาสัตว์เลี้ยงมาพบสัตวแพทย์ คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับผิวหนัง ซึ่งบางครั้งอาจเป็นโรคพื้นฐานที่สามารถจัดการได้โดยง่าย แต่บางครั้งกลับเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคในการวินิจฉัยอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังแบบต่างๆกันนะคะ

 Skin Scraping การขูดเก็บตัวอย่างผิวหนัง

สามารถทำได้เพื่อเก็บข้อมูลรอยโรคผิวหนังได้เกือบทุกประเภท แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

(1) Superficial skin scraping จะใช้เพื่อเก็บตัวอย่างที่ชั้น epidermis และไม่ทำให้เลือดออกจาก capillary เนื่องจากจะขูดเป็นแนวกว้างแต่ไม่ลึก

 

(2) Deep skin scraping จะเป็นการเก็บตัวอย่างในชั้นลึกถึง hair follicle ซึ่งจะใช้ เกณฑ์คือต้องมีเลือดออกจากการขูดเป็นสัญญานว่าลึกเพียงพอแล้ว การขูดตรวจผิวหนังนี้ มักใช้เพื่อตรวจหาปรสิตภายนอก โดยเฉพาะกลุ่มไร (mites) ต่างๆก่อนเป็นอันดับแรกของการวินิจฉัยโรคผิวหนัง และสามารถทำได้ง่ายโดยใช้ใบมีดผ่าตัดที่มีอยู่ในคลินิก แต่หากมี skin-scraping spatula ซึ่งเป็นอุปกรณ์โลหะที่มีน้ำหนักเบาและบางจะปลอดภัยกว่าเนื่องจากไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและสามารถ นำกลับมาใช้ซ้ำได้

รับชมวิดีโอแนะนำการทำ superficial skin scrapings : https:// www.cliniciansbrief.com/article/superficial-skin-scrape

รับชมวิดีโอแนะนำการทำ Deep skin scrapings : https:// www.cliniciansbrief.com/article/deep-skin-scrape

Combing of the Hair Coat

คือการใช้หวีซี่ถี่ๆ หวีตามขนสัตว์เลี้ยงเพื่อตรวจหา “หมัด” รวมทั้งสามารถรวบรวมเศษผิวหนัง หรือ skin debris และ cutaneous parasites ต่างๆให้ติดมากับซี่ของหวี ด้วยการใช้หวีนี้สามารถใช้ตรวจหาได้ทั้ง หมัด เห็บ เหา และกลุ่ม mites ต่างๆ หากเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ก็สามารถใช้เป็นแปรงขนาดที่ใหญ่ขึ้นหวีไปตามเส้นขนเพื่อเก็บสิ่งที่ติดมาได้เหมือนกัน

 

Hair Trichogram

สามารถใช้เพื่อเก็บข้อมูลได้ในเกือบทุกประเภทของโรคผิวหนัง และเริ่มมีการใช้เทคนิคนี้แทนการทำ skin scrapings เพราะสามารถให้ข้อมูลได้เทียบเท่ากัน การทำ hair trichogram ใช้การดึงแบบถอนขนตรงบริเวณที่เป็นรอยโรคด้วยปากคีบ (forceps) คีบตั้งฉาก 90 องศาที่บริเวณโคนขน แล้วค่อยถอนออกตามแนวการงอกของขน วางขนที่ถอนไว้ใน mineral oil แล้วปิดด้วย cover slip เพื่อส่องตรวจใต้ กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งจะสามารถเห็นร่องรอยของ mite infestations, dermatophyte infections, dysplastic hairs และบางครั้งอาจจะพบรอยโรคที่เกิดจากพันธุกรรม ของเส้นขนได้อีกด้วย

Cytology

การเก็บตัวอย่าง cytology จากผิวหนังและช่องหูสามารถช่วยให้เราแยกแยะสาเหตุ ของโรคผิวหนังจากแบคทีเรีย เชื้อรา และบางครั้งอาจจะพบเป็นเนื้องอกได้เช่นกัน การเก็บตัวอย่างด้วยการทำ impression smear ประมาณ 4-6 แห่ง รอบบริเวณที่สงสัย ส่งไปตรวจกับห้องปฏิบัติการ โดยสามารถใช้ slide วางทาบโดยตรงกับผิวหนังและใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วชี้กดลงบน slide ชั่วขณะหนึ่งเพื่อเก็บตัวอย่างได้โดยตรง เมื่อได้ slide มาแล้วให้แช่ย้อมในน้ำยา blue เพื่อย้อมติดสี (Romanowsky-type stain) และในสัตว์ป่วยที่มีภาวะ pruritis แนะนำให้เก็บตัวอย่างจากใต้เล็บซึ่งเป็นแหล่งของ cytology ที่ดีมากๆ โดยใช้ acetate-tape เก็บตัวอย่างมาแล้วย้อมสีก่อน เมื่อแห้งแล้วจึงค่อยไปติดบน slide แล้วสามารถส่องตรวจได้ทั้ง 4x, 10x และ oil immersion

Fungal Cultures

การทดสอบการติดเชื้อราผิวหนังที่ดีที่สุดคือการใช้ Dermatophyte test media (DTM) โดยแนะนำให้ใช้แบบ plate หรือ Petri-dish จะให้ผลลัพท์ที่ดีกว่าภาชนะแบบอื่นๆ เพราะ DTM ที่เป็นแบบแก้วหรือฝาขวดแบบเกลียวใช้งานได้ยากและต้องใช้ความระวังมากในการเก็บตัวอย่างทดสอบ สำหรับการเก็บตัวอย่างแนะนำให้ใช้แปรงสีฟันใหม่ที่สะอาดหวีบริเวณที่มีรอยโรคหลายๆ รอบ เพื่อเก็บตัวอย่างให้ได้มากที่สุดและทดสอบใน DTM โดยเก็บที่อุณหภูมิห้อง และหยุดการทดสอบหลังจากนั้น 14 วัน

Bacterial Cultures

หยุดการใช้ยาต้านแบคทีเรียทั้งแบบ systemic และ topical ก่อนทำการเก็บตัวอย่าง อย่างน้อย 72 ชั่วโมง และไม่ต้องทำความสะอาดบริเวณที่จะเก็บตัวอย่าง สำหรับรอยโรคที่มีตุ่มหนองที่ยังไม่แตกออก (intact pustules) ให้ใช้ sterile needle เจาะและ ใช้ cotton swab เก็บตัวอย่างหนองที่ได้ หากไม่พบ intact pustule ก็ให้ใช้ sterile cotton swab จุ่มกับ transport medium แล้วถูแรงๆ บริเวณที่มีรอยโรคพร้อมหมุน swab ให้เก็บตัวอย่างได้ครบรอบ 360 องศา และสำหรับ deep pyoderma แนะนำ ให้ใช้ Skin biopsy ขนาด 6-8 mm เก็บตัวอย่างพร้อมส่งข้อมูลเชื้อ pathogen ที่ สงสัยให้กับทางห้องปฏิบัติการด้วย

Biopsy

แนะนำให้ทำในทุกกรณีที่พบการติดเชื้อหรือรอยโรคที่รุนแรงกว่าปกติ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาอย่างเหมาะสม โดยไม่ต้องทำความสะอาดรอยโรคที่จะเก็บตัวอย่างเพราะรอยโรคที่ผิวหนังด้านบนสามารถให้ข้อมูลในการวินิจฉัยโรคได้ดี และควรเก็บตัวอย่างส่งตรวจหลายๆ ตำแหน่ง การวินิจฉัยรอยโรคที่ได้จากการเก็บ ตัวอย่าง biopsy ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญกับโรคผิวหนังเป็นอย่างดี และแนะนำให้ใช้ biopsy punch ขนาด 6-8 mm ที่มีขนาดใหญ่พอที่จะเก็บรอยโรคได้ครอบคลุมและ เมื่อตัวอย่างเจอกับน้ำยา formalin จะทำให้ตัวอย่างหดลงประมาณ 50% ซึ่งชิ้นตัวอย่างขนาดใหญ่จะยังเหลือขนาดชิ้นเนื้อเพียงพอที่จะใช้ทดสอบพยาธิสภาพได้เช่นกัน

Routine Blood and Urine Tests

การตรวจเลือดและปัสสาวะในสัตว์ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังไม่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากนัก แต่สำหรับสัตว์ที่มีอาการป่วยทางร่างกายอย่างชัดเจน (systemic disease) ร่วมกับการกลับมาป่วยโรคผิวหนังซ้ำหลังการรักษา การตรวจเลือดและปัสสาวะอาจ จะช่วยตามหา underlying subclinical disease ได้

 

Intradermal Skin Testing

การทดสอบนี้ไม่สามารถใช้วินิจฉัยสาเหตุของสัตว์ป่วยทุกตัวที่สงสัย atopic dermatitis ได้ เพราะการทดสอบจะให้ผล positive ต่อเมื่อสัตว์ป่วยนั้นเคยสัมผัส particular allergen ที่ใช้ทดสอบนั้นๆ (หากเลือก allergen ที่ใช้ไม่ตรงกับสาเหตุก็อาจได้ผล negative) ซึ่งการวินิจฉัยร่วมกับการซักประวัติการตรวจร่างกายและการใช้ผลการทดสอบจาก intradermal และ in vitro testing มาประกอบกันอย่างรอบคอบนั้นจะช่วยให้วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำมากกว่า แต่สำหรับสัตว์ป่วยที่มีการรักษา immunotherapy อยู่แล้วจะแนะนำให้ทำการทดสอบ intradermal skin testing เพื่อหาสาเหตุเพราะสัตว์ป่วยต่อเนื่องและรุนแรง อีกทั้งก่อนทำการทดสอบสัตวแพทย์ควรพิจารณาจัดการยาที่สัตว์ได้รับที่อาจรบกวนผลการทดสอบอย่างเหมาะสมด้วย

In Vitro Diagnostic Tests

การทดสอบด้วย ELISA หรือ RAST tests เป็นการทดสอบทางเลือกที่นอกเหนือจากการทดสอบ intradermal skin testing ซึ่งการทดสอบแบบ in vitro นี้มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างน้อยเพราะมีโอกาสเกิด false-positive reactions ค่อนข้างมาก

…………………………
บทความโดย : 
สพ.ญ.พิชญาภา ชมแก้ว
…………………………

เอกสารอ้างอิง

https://www.msdvetmanual.com/veterinary/integumentary-system/ integumentary-system-introduction/diagnosis-of-skin-diseases-in-animals https://www.cliniciansbrief.com/article/superficial-skin-scrape https://www.cliniciansbrief.com/article/deep-skin-scrape

...............................................

#เครื่องมือสัตวแพทย์​ #คลินิกสัตวแพทย์​ #โรงพยาบาลสัตว์​ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง​ #อุปกรณ์สัตวแพทย์​ #BEC​ #becvet​ #BECpremium  #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์ #สัตว์เลี้ยง #การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังสัตว์เลี้ยง 

Share this entry