Our Blog

Information about KRUUSE Digital thermometer

ข้อมูลควรรู้เกี่ยวกับ KRUUSE Digital thermometer สัญลักษณ์นี้หมายความว่ายังไง หากขณะใช้งานมีสัญลักษณ์เหล่านี้ขึ้นหมายความว่าอย่างไรบ้าง

Read More >

Dermatophyte test fungus culture

การเพาะเชื้อรา เป็นการเพิ่มปริมาณเชื้อราจากตัวอย่าง เช่น ขน สะเก็ดรังแค ซึ่งมีปริมาณน้อยให้เจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค และ ประเมินผลการรักษา

Read More >

Dangers that may result from incorrect bandage wrapping

การพัน Bandage หลวมเกินไป 

มักเกิดขึ้นกับผู้พันแผลที่เริ่มฝึกทำการพัน Bandage ซึ่งหลังจากพัน Bandage เรียบร้อยแล้ว ดูเหมือนจะไม่มีความผิดปกติใด ๆแต่เมื่อสัตว์เริ่มยืนบนพื้น เริ่มเดิน และมีการส่ายขา จึงทำให้ Bandage หลุดออกมาและจะต้องทำการพัน Bandage ใหม่ ทำให้เสียเวลา และเสียอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น

 

การพัน Bandage ที่หัวในกรณีที่สัตว์มีบาดแผลบริเวณหัว หรือใบหู

การพัน Bandage ที่หัว ผู้พันแผลควรจะเขียนตำแหน่งของใบหูสัตว์บน Bandage เพื่อให้ผู้ที่จะถอด Bandage สามารถรู้ถึงตำแหน่งใบหู จะได้ตัด Bandage ได้โดยไม่โดนใบหูของสัตว์

การพัน Bandage แน่นเกินไป

เกิดขึ้นได้หากการพัน Bandage มีช่องว่างภายใน Bandage ไม่เพียงพอการพัน Bandage แน่นเกินไป อาจจะทำให้เกิดแผล รวมถึงเกิดการรบกวนระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เกิดการบวมของอวัยวะที่อยู่บริเวณรอบนอกของตำแหน่งที่พัน Bandage ได้ 

...................................

บทความโดย
น.สพ. พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ 

..................................

#เครื่องมือสัตวแพทย์#คลินิกสัตวแพทย์#โรงพยาบาลสัตว์#อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์#BEC#becvet#BECpremium

 

 

Read More >

Steps for using the Cohensive Bandage

ขั้นตอนที่ 1 การพันสำลีรองเฝือก

1. ทำการจับสัตว์ให้อยู่ในท่านอนตะแคง เพื่อเตรียมพร้อมการพัน Bandage จากอุ้งเท้าขึ้นไปด้านบนขาสัตว์

2. ใช้สำลีม้วนทำเป็นแถบสำลี สำหรับวางไว้ระหว่างง่ามนิ้วของสัตว์ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้นิ้วเท้าเสียดสีภายในเมื่อทำการพันเท้าเสร็จเรียบร้อย

3. นำแถบสำลีวางไว้ใต้ฝ่าเท้า ถ้าสัตว์มีนิ้วติ่งให้วางแถบสำลีที่ใต้นิ้วติ่งของสัตว์ด้วย

4. ทำการพันเท้า โดยใช้สำลีรองเฝือกพันรองพื้นก่อน โดยพันจากด้านหลังของขาสัตว์ลงมายังเท้าแล้วอ้อมขึ้นไปที่ด้านหน้าของขาสัตว์ *ในขณะที่พันเท้า ม้วนของสำลีจะต้องอยู่ด้านบนเพื่อให้สำลีมีความตึงสม่ำเสมอขณะทำการพัน

5. ใช้นิ้วยึดสำลีไว้ แล้วดึงสำลีพันกลับมาที่ด้านหน้าขาและมารอบเท้า แล้วขึ้นไปที่ด้านหลังของขาแล้วใช้นิ้วหัวแม่มือยึดสำลีไว้ที่ด้านหลัง

6. พันสำลีซ้ำในรอบที่ 2 จากนั้นใช้นิ้วยึดสำลีในชั้นที่ 2 ไว้  โดยให้สำลีอยู่ตรงกลาง หรือด้านข้างเล็กน้อยเพื่อให้สำลีครอบคลุมเท้า

7. เมื่อพันครบ 2 รอบแล้วให้พันสำลีรอบเท้ามาที่ด้านหลังโดยให้สำลีเกี่ยวรอบนิ้วหัวแม่มือ *ทิศทางที่ถูกต้อง คือ ม้วนสำลีอยู่ด้านบนตามที่ระบุไว้ในข้อ 4

8.ทำการพันรอบเท้าสัตว์ขึ้นไปยังขาสัตว์

9. พันสำลีแต่ละรอบควรทับซ้อนกันประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างของสำลี

10. พันสำลีที่ขาต่อขึ้นไปด้านบน

11. พันสำลีจนถึงด้านล่างของข้อศอก โดยไม่ต้องพันกลับลงมาที่ขา

 

ขั้นตอนที่ 2 การพันผ้าก๊อซยืด

1. นำผ้าก๊อซยืดมาพันทับสำลีอีกครั้งโดยเริ่มพันจากด้านหลังของขาสัตว์ ให้ใช้นิ้วโป้งของผู้พันแผลจับด้านบนของผ้าก๊อซให้เข้าที่

2. พันผ้าก๊อซรอบอุ้งเท้า และขึ้นไปบริเวณด้านหน้าของขาสัตว์ ใช้นิ้วยึดผ้าก๊อซแล้วพันกลับลงไปที่ด้านหน้าของขาสัตว์

3. พันผ้าก๊อซรอบอุ้งเท้ามาไว้ที่ด้านหลังของขาสัตว์ และพันผ้าก๊อซรอบนิ้วหัวแม่มือเพื่อทำขั้นตอนต่อไป

4. เริ่มพันผ้าก๊อซโดยขยับผ้าก๊อซไปตรงกลาง หรือด้านข้างเล็กน้อย พร้อมที่จะพันผ้าก๊อซรอบเท้าและพันขึ้นไปยังขาสัตว์

5. พันผ้าก๊อซรอบเท้าแล้วขึ้นไปยังขาสัตว์ และตรวจสอบว่าม้วนผ้าก๊อซยังคงอยู่ด้านบนของผ้าพันแผล

6. ผ้าก๊อซที่พันในแต่ละรอบควรทับซ้อนกันประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างของผ้าก๊อซ

7. พันผ้าก๊อซจนถึงด้านล่างของข้อศอก โดยไม่ต้องพันกลับลงมาที่ขา

 

ขั้นตอนที่ 3 การพัน Bandage

1. ใช้ Bandage เริ่มพัน จากด้านหลังของขาที่ตำแหน่งครึ่งนึงของผ้าก๊อซกับสำลีที่พันไว้ก่อนหน้า ใช้นิ้วหัวแม่มือช่วยจับขอบ Bandage จากนั้นใช้มืออีกข้างยืด และปล่อยม้วนBandage เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีแรงตึงเกิดขึ้นใน Bandage *ตรวจสอบม้วน Bandage อยู่ด้านบนเสมอ

2. พัน Bandage จากด้านหลังของขาพันรอบเท้าและขึ้นไปด้านหน้าของขาสัตว์ประมาณครึ่งนึงของผ้าก๊อซกับสำลีที่พัน Bandage ไว้ก่อนหน้า จากนั้นพันรอบนิ้วของผู้พันแผล และพัน Bandage กลับลงไปที่ด้านหน้าของขาสัตว์

3. พัน Bandage รอบอุ้งเท้าไปที่ด้านหลังของขาสัตว์ทำการเกี่ยว Bandage รอบนิ้วหัวแม่มือของผู้พันแผลเพื่อเตรียมขั้นตอนต่อไป*ขณะที่พัน Bandage ไม่ควรที่จะดึง Bandage เพราะทำให้ Bandage หดตัว และเกิดแรงตึงที่เท้าสัตว์ได้

4. เริ่มพัน Bandageรอบเท้าโดยขยับไปตรงกลางหรือด้านข้างเล็กน้อย พร้อมที่จะพัน Bandage รอบเท้า และพันขึ้นไปยังขาสัตว์ 

5. ทำการพันรอบเท้าแล้วขึ้นไปยังขาสัตว์ และตรวจสอบว่าม้วน Bandage ยังคงอยู่ด้านบนของผ้าพันแผล   *ขณะทำการพัน  Bandage แต่ละรอบควรทับซ้อนกันประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างของ Bandage

6. พัน Bandage รอบขาขึ้นไป อย่าลืมดึง Bandage  ออกจากม้วนและปล่อยไว้ก่อน ที่จะทำการพันรอบขาสัตว์

7. พัน Bandage จนถึงด้านล่างข้อศอกเช่นเดียวกับที่พันสำลี และผ้าก๊อซโดย Bandage ที่พันควรจะทับทั้งสำลี และผ้าก๊อซที่พันไว้ ซึ่ง Bandage จะช่วยยึดสำลีกับผ้าก๊อซให้แน่นติดกับ Bandage

8. ทำการตรวจสอบ Bandageว่าไม่แน่นในที่บริเวณ นิ้วเท้าสัตว์จนเกินไป

9. ทำการเขย่าเท้าสัตว์ เพื่อดูว่า Bandage หลุดออกมาได้หรือไม่

10. ตรวจสอบความตึงของ Bandage ที่บริเวณด้านบนของผ้าพันแผล โดยใช้ 2 นิ้วสอดเข้าไประหว่างผิวหนังสัตว์กับ Bandage ถ้าไม่ตึงเกินไปจะสามารถสอดนิ้วเข้าไปได้

 

...................................

บทความโดย
น.สพ. พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ 

..................................

#เครื่องมือสัตวแพทย์#คลินิกสัตวแพทย์#โรงพยาบาลสัตว์#อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์#BEC#becvet#BECpremium

 

 

 

 

Read More >

polyglycolic acid with preserving liquid

ในทุกครั้งที่มีการดึงวัสดุเย็บออกจากม้วนเพื่อใช้งาน จะมีอากาศจากภายนอกเข้าไปภายในม้วนของวัสดุเย็บ ซึ่งส่งผลให้ก๊าซที่เป็นสารเฉพาะเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา Hydrolysis ของตัววัสดุเย็บ มีประสิทธิภาพลดลงเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ครั้งที่มีการดึงวัสดุเย็บมาใช้

Read More >

Battery maintenance veterinary equipment

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ทางสัตวแพทย์ในทุกๆ วันนี้มีมากมายหลากหลาย บางชนิดมีแบตเตอรี่ในตัว เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก, เครื่องวัดความดัน Ultrasonic Doppler , เครื่อง Monitor การหายใจ รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการ Monitor สัตว์ต่าง ๆ โดยทั่วไปแล้วแบตเตอรี่ในอุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นแบตเตอรี่ตะกั่วกรดแบบแห้ง (Lead Acid Battery)

Read More >

Flat Blood Pressure Probe

มาทำความรู้จักกับ Flat Blood Pressure Probe องค์ประกอบสำคัญของเครื่อง Ultrasonic Doppler

Read More >

Vet basic Ophthalmic surgery

ความผิดปกติหรือบาดแผลบริเวณตาที่พบในสัตว์เลี้ยงที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด (ophthalmic surgery) นั้น ต่างจากการผ่าตัดปกติทั่วไปเพราะเป็นบริเวณขนาดเล็กและต้องใช้ความละเอียดอ่อนทั้งฝีมือและอุปกรณ์ที่ต้องพิเศษกว่าอุปกรณ์ผ่าตัด soft tissue ทั่วไป บทความนี้จึงขอรวบรวมวัสดุเย็บและอุปกรณ์ผ่าตัดตาเบื้องต้นเพื่อเป็นประโยชน์ให้คุณหมอสัตวแพทย์ได้เป็นแนวทางในการเลือกใช้งานกันนะคะ

Read More >

Sutures and Suture selection

วัสดุเย็บในอุดมคติต้องมีคุณสมบัติคือ ผูกจับได้ถนัดมือ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของร่างกายน้อย ยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย ผูกปมได้แน่นหนามั่นคง ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหดตัว ไม่ดูดซับของเหลว(noncapillary action) ไม่ก่อให้เกิดการแพ้, ก่อมะเร็ง, ก่อให้เกิดสภาพแม่เหล็ก

Read More >
12