ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อกระบวนการการหายของบาดแผล

เมื่อร่างกายเกิดบาดแผล การตอบสนองของ wound healing process จะช่วยให้เลือดหยุดไหลและสร้างเนื้อเยื่อใหม่เข้ามาทดแทนเนื้อเยื่อเดิมที่เสียหายไป ซึ่งหากบาดแผลนั้นได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและสัตว์ป่วยมีสภาวะร่างกายปกติ บาดแผลจะเกิดกระบวนการสมบูรณ์ที่เรียกได้ว่าเป็น acute wound healing process ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

1. Phase of coagulation

เมื่อร่างกายเกิดบาดแผลและเส้นเลือดเสียหาย เส้นเลือดจะตอบสนองด้วยการหดตัว หรือ vasoconstriction และมีการเข้ามารวมตัวกันของเกล็ดเลือด (platelets aggregation) โดยอาศัยสารเคมี (chemical substance) จากเซลล์ที่ได้รับความเสียหายเป็นตัวกระตุ้น เพื่อนำไปสู่การเกิด blood clot (coagulation cascade) ทำให้เลือดหยุดและจะปกคลุมบาดแผลด้วย fibrin meshwork ในระยะแรก โดย fibrin meshwork นี้จะเป็น frame work ให้ เซลล์ต่างๆของกระบวนการ wound healing process

2. Inflammatory phase

กระบวนการนี้จะเริ่มหลังจากเกิดบาดแผลประมาณ 10-30 นาที ประกอบด้วย vasodilation, increased capillary permeability, complement activation, white blood cell (PMN, monocyte) migration ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่บริเวณบาดแผล โดยจะมี macrophage เป็นตัวเอกที่มีบทบาทหลักในขั้นตอนนี้ ซึ่งจะทำหน้าที่หลั่ง growth factors ต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการ proliferation ต่อไป

3. Proliferation phase

คือระยะที่ inflammatory cell จะลดบทบาทลงและมีนำเซลล์อื่นเข้ามาทดแทน โดยจะมีกระบวนการของร่างกายต่างๆที่เกิดขึ้นคือ granulation tissue, angiogenesis, wound contracture และ epithelization เป็นต้น

โดยการสร้าง granulation tissue คือการสร้าง new extracellular matrix ซึ่งส่วนใหญ่คือ collagen ที่มาจาก fibroblast รวมทั้งยังมีสารต่างๆที่มีความสำคัญต่อกระบวนการนี้ เช่น วิตามินซี, ธาตุเหล็ก, ออกซิเจน ซึ่งเป็น co-factor สำคัญในการเกิด hydroxylation ของ prolene และ lysine ที่เป็นโปรตีนสำคัญในกระบวนการ collagen synthesis

4. Remodelling phase หรือ maturation phase

เป็นระยะสุดท้ายของกระบวนการ ซึ่งจะเริ่มประมาณ 20 วันหลังจากเกิดบาดแผลซึ่งอาจจะกินเวลานานหลายเดือนไปจนถึงหลายปี ขึ้นอยู่กับบาดแผลนั้นๆ เช่น ตำแหน่ง, ระยะเวลาการหายของแผล, ความรุนแรงของบาดแผล เป็นต้น ซึ่งในระยะนี้แผลจะมีความแข็งแรงขึ้น โดยมีการเกิด collagen cross link และ มีการลดจำนวน cell ต่างๆของบาดแผลลง เมื่อกระบวนการนี้อยู่ในภาวะสมดุลของการสร้างและทำลาย collagen จะส่งผลให้แผลเป็นที่เกิดขึ้นนิ่มลง แบนลง เรียบและมีสีจาง ซึ่งกระบวนการนี้จะมี macrophage เป็นตัวควบคุม

จนเมื่อสิ้นสุดกระบวนการ wound healing process นี้ จะพบว่าความแข็งแรงของแผลเป็นจะไม่เกินกว่า 80% ของผิวหนังปกติ และเป็นส่วนที่ไม่มี sebaceous gland, sweat gland, hair follicle จึงทำให้มีการแห้งและแตกง่ายกว่าผิวหนังปกติ

ในบางกรณี บาดแผลที่เกิดขึ้นไม่สามารถหายได้ตามกระบวนการของ acute wound healing ปกติ โดยอาจจะถูกรบกวนด้วยปัจจัยบางอย่างทำให้กระบวนการหยุดที่ phase ใด phase หนึ่ง ซึ่งเราเรียกการหายของแผลที่ถูกระกวนนี้เป็น chronic wound healing หรือ non-healing ulcer

Chronic wound healing เกิดจากการ prolonged หรือ repeated ของ inflammatory phase ซ้ำๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากมี infection หรือ trauma หรือมี necrotic tissue เหลืออยู่ ทำให้มีการกระตุ้น PMN และ macrophage ให้หลั่ง protease ซึ่งเป็น enzyme ที่ทำลาย extracellular matrix ที่ร่างกายพยายามสร้างขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา ร่วมไปถึงการลดทอนประสิทธิภาพในการทำงานของ growth factor ลงจนทำให้เกิดความผิดพลาดและผิดปกติของขั้นตอน proliferative phase จนไม่สามารถทำให้เกิดกระบวนการ granulation tissue formation หรือ epithelization ได้

สาเหตุที่รบกวนกระบวนการหายของแผลที่ทำให้เกิดเป็น chronic wound healing process มีหลายสาเหตุด้วยกัน โดยอาจจะเกิดได้จากสภาวะของแผลเอง (local) หรือ จากสภาพร่างกายของสัตว์ป่วย (system) ตัวอย่างเช่น

1. Local เช่น Infection, foreign bodies, ischemia, radiation, trauma, cancer, local toxins, arterial insufficiency, venous insufficiency รวมไปถึงภาวะ hyperthermia บริเวณที่มีบาดแผล

2. Systemic เช่น inherited disorder ที่ส่งผลต่อการสร้าง collagen formation, nutritional deficiencies, aging, diabetes, liver disease, uremia, medications, blood transfusions และภาวะ jaundice

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมและขัดขวางการตอบสนองของร่างกายร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บไม่ให้เกิดกระบวนการ acute wound healing ได้อย่างเหมาะสมนั้น จะมีหลายสาเหตุแตกต่างกัน ซึ่งสัตวแพทย์จำเป็นจะต้องพิจารณาข้อมูลแวดล้อมและตรวจร่างกายสัตว์ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อประเมินสถานการณ์และแนวทางในการรักษาที่เหมาะสม รวมทั้ง สามารถประเมินระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่เจ้าของสัตว์จะต้องใช้ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลมากยิ่งขึ้น

…………………………
บทความโดย :
สพ.ญ.พิชญาภา ชมแก้ว
…………………………

เอกสารอ้างอิง

ผศ.นพ.อัจฉริย สาโรวาท, wound healing and wound care, https://www.rama.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/Wound%20%20Healing%20abd%20Wound%20Care.pdf

..............................................

#เครื่องมือสัตวแพทย์​ #คลินิกสัตวแพทย์​ #โรงพยาบาลสัตว์​ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง​ #อุปกรณ์สัตวแพทย์​ #BEC​ #becvet​ #BECpremium  #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์ #สัตว์เลี้ยง #Polyglactine910  #Sacryl

Share this entry