มาทำความรู้จัก Polyglycolic acid และความแตกต่างของ PGA กับ PLA กันเถอะ

 Polyglycolic acid หรือ PGA คือ สารโพลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และได้สารประเภทเดียวกับสารที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย

PGA ผลิตจาก glycolic acid monomer ด้วยกระบวนการ polymerization เกิดเป็นโพลิเมอร์สายยาวต่อเรียงกันอย่างมีระเบียบ (crystallinity) มีคุณสมบัติ ละลายน้ำน้อย (low solubility) และละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvents) ได้ต่ำ

PGA ถูกย่อยสลายด้วยปฏิกิริยาของร่างกายคือ tricarboxylic acid cycle ทำให้ถูกนำมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆทางการแพทย์ ที่ต้องการคุณสมบัติย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะวัสดุเย็บและเครื่องมือ ที่ต้องฝังทิ้งไว้ในร่างกาย (medical implants)

PGA ถูกนำมาผลิตเป็นวัสดุเย็บแบบสังเคราะห์มายาวนาน (ตั้งแต่ปี1970) ซึ่ง ถือเป็นสารตั้งต้นที่ใช้เป็นองค์ประกอบหลักในการผลิตมาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้ด้วยปฏิกิริยาของร่างกาย (hydrolysis) และได้สารสุดท้ายจากการย่อยสลายเป็นสารประเภทเดียวกับสารที่ได้จากการเมตาบอลิซึมของร่างกายเอง PGA จึงค่อยๆได้รับการพัฒนาคุณสมบัติที่ช่วยให้เหมาะสมกับ critical wound healing period ของเนื้อเยื่อและอวัยวะร่างกายแต่ละประเภทที่แตกต่างกัน รวมทั้งพัฒนาประสบการณ์การใช้งานวัสดุเย็บแบบสังเคราะห์ของศัลยแพทย์และ ศัลยสัตวแพทย์ให้เป็นที่น่าพอใจมากยิ่ง

PGA เริ่มสูญเสียความแข็งแรง (tensile strength) เมื่ออยู่ในร่างกายประมาณ 2-3 สัปดาห์ และหมดความแข็งแรง(absorption time) ใน 60-90 วัน ซึ่งในการ ผ่าตัดบางประเภทที่ต้องการให้วัสดุเย็บคงความแข็งแรงไว้นานกว่านั้นจึงเกิดการ พัฒนาการผลิต polymerization ด้วยการเพิ่ม copolymer ที่มีคุณสมบัติเป็น hydrophobic ที่มากกว่า PGA คือ PLA หรือ polylactic acid เข้าไปในสาย โพลิเมอร์ของ PGA ทำให้วัสดุเย็บคงความแข็งแรงเมื่ออยู่ในร่างกายได้นานยิ่งขึ้น (reduces the rate of backbone hydrolysis) และได้วัสดุเย็บใหม่คือ Polylactide-co-glycolide หรือ PLGA ที่มีความแข็งแรงมากขึ้นและย่อยสลายได้ไวขึ้นจาก คุณสมบัติของ PLA

 

PLGA ที่นิยมใช้ผลิตเป็นวัสดุเย็บมากที่สุดคือ อัตราส่วนของ PGA 90% ต่อ PLA 10% หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ Polyglactin 910 โดยวัสดุเย็บประเภทนี้เมื่อ เปรียบเทียบกับ PGA 100% แล้วจะพบว่า PLGA มีระยะ tensile strength เมื่ออยู่ ในร่างกายได้นานกว่า PGA (tensile strength 3 สัปดาห์) และถูกย่อยสลายออกไป เมื่อแผลผ่าตัดสมานแล้วได้ในระยะเวลาที่เร็วกว่าเดิม (absorption time 56-70 วัน) ทำให้ในปัจจุบัน วัสดุเย็บส่วนใหญ่ในกลุ่มของ multifilament absorbable suture จะผลิตจาก Polyglactin910(PLGA) มากกว่า Polyglycolic acid(PGA) เพื่อให้มี ระยะเวลาที่วัสดุเย็บคงความแข็งแรงได้ยาวนานเพียงพอต่อการใช้งานต่อเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆที่มี critical wound healing period แตกต่างกันได้อย่างกว้างขวาง มากยิ่งขึ้น

 

…………………………
บทความโดย : 
สพ.ญ.พิชญาภา ชมแก้ว
…………………………

เอกสารอ้างอิง

 https://www.sciencedirect.com/topics/chemistry/poly-glycolic-acid
 

...............................................

#เครื่องมือสัตวแพทย์​ #คลินิกสัตวแพทย์​ #โรงพยาบาลสัตว์​ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง​ #อุปกรณ์สัตวแพทย์​ #BEC​ #becvet​ #BECpremium  #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์ #สัตว์เลี้ยง #Polyglactine910  #Sacryl

Share this entry