เจ้าของสัตว์ควรดูแลแผลอย่างไร เมื่อน้องตูบ น้องเหมียว โดนกัด
บาดแผลที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง เป็นเรื่องที่เราอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางครั้งอาจเกิดจากการที่เราไม่ระวังจนสัตว์ของเราออกไปโดนสัตว์ตัวอื่นกัดหรือทำร้าย หากโชคดีแล้วสัตว์เลี้ยงของเราอาจจะไม่ได้รับบาดแผลร้ายแรง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสัตว์เลี้ยงของเราโดนกัด เราจะต้องทำการรักษาและดูแลอย่างถูกต้อง
- หลังจากการโดนกัด อาจพบบาดแผลที่ผิวหนังร่องรอยขีดข่วนตื้น ไปจนถึงบาดแผลที่เจาะทะลุอย่างรุนแรง การทำความสะอาดบาดแผลโดยทันทีสามารถลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้
- จากนั้นควรพาสัตว์ที่ถูกกัดไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการประเมิน รับการรักษาแผลอย่างถูกต้องต่อไป
- สัตว์ที่ต้องกลับมาดูแลแผลที่บ้าน เจ้าของสัตว์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด
- นอกจากนี้ต้องระวังสัตว์ที่โดนกัดหลายที่ทั่วตัว เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บภายใน ซึ่งรวมถึงการบาดเจ็บจากการโดนแรงบดขย้ำ เกิดความเสียหายต่ออวัยวะภายใน หรือหากร้ายแรงอาจพกระบังลมฉีกขาดอากาศรั่วเข้าไปในหน้าอกได้ การนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบบาดแผลรอบตัวสัตว์
- สัตว์ที่โดนกัดมีแผลที่มีเลือดออกหรือไม่ ให้ใช้ผ้าก๊อซที่ปราศจากเชื้อกดตรงบริเวณบาดแผล ประมาณ 5 หรือ 10 นาทีจนเลือดหยุดไหล หากเลือดไม่หยุดไหลให้นำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด
- ตรวจรอบตัวสัตว์เพื่อหาบาดแผลอื่นๆ เนื่องจากการต่อสู้กันสามารถทำให้เกิดรอยต่างๆ เช่น
1. รอยขีดข่วน เป็นร่องรอยแตกเล็กๆ น้อยๆ ที่ผิวหนัง
2. บาดแผลลึกจากการเจาะ การกัดทะลุ
3. รอยขย้ำ รอยช้ำ ไม่มีบาดแผลภายนอกให้เห็น แต่ภายในอาจพบการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ ถ้ากระบังลมทะลุอาจทำให้สัตว์หายใจไม่สะดวกและเสียชีวิตได้
ขั้นตอนที่ 2 ล้างทำความสะอาดแผลหลังโดนกัด
- โกนขนรอบบริเวณบาดแผล
- ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ ถ้าไม่มีให้ใช้น้ำสะอาดทำความสะอาดแผลให้ได้มากที่สุด
- ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้กระบอกฉีดยา ฉีดล้างเพื่อทำความสะอาด ที่เป็นรูลึก หรือแผลเจาะ ให้สะอาด รวมทั้งบริเวณขอบแผลด้วย
ขั้นตอนที่ 3 ใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผลภายนอก
- กรณีแผลถลอก รอยขีดข่วนไม่ลึก สามารถใส่ยาฆ่าเชื้อบนบาดแผลได้ทันที
- ถ้าเป็นแผลลึก เป็นโพรง แนะนำให้ใส่ยาฆ่าเชื้อลงไปในแผลให้ถึงขอบในสุดของแผล ยาฆ่าเชื้อรูปแบบเจลเหมาะกับแผลลักษณะนี้ เพราะจะช่วยให้ใส่ยาในบาดแผลได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 การให้ยา และภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง
การให้ยา
- อาจจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแผลติดเชื้อหรือไม่
- สัตว์อาจต้องรับยาแก้ปวดเพื่อให้สัตว์รู้สึกสบายขึ้น
- ยาที่ได้รับตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เจ้าของสัตว์ควรให้ยาจนหมดแก่สัตว์แม้ว่าอาการจะดีขึ้น
ภาวะแทรกซ้อน
- แผลจากการโดนกัดอาจเกิดการติดเชื้อและกลายเป็นฝีหนอง หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สัตว์อาจเกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น เดินกะเผลก ซึม เบื่ออาหาร มีไข้ ขนอาจหลุดร่วงบริเวณที่ถูกกัด และผิวหนังอาจกลายเป็นสีแดง มีหนองไหล และมีกลิ่นเหม็น
- หากสัตว์ของคุณไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาควรได้รับการฉีดวัคซีนทันที
- หากเจ้าของไม่ทราบว่าสัตว์ฉีดป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้วหรือยัง คุณอาจต้องให้สัตว์ของคุณกักบริเวณ และสังเกตสัญญาณของโรคพิษสุนัขบ้า
หมายเหตุ : ควรเข้ารับการรักษาโดยสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด แม้ว่าบาดแผลจะดูเล็กน้อย
ขั้นตอนที่ 5 การนำสัตว์กลับมาดูแลบาดแผลเองที่บ้าน
- อย่าให้สัตว์เลีย หรือกัดแทะแผลของเขา เพราะน้ำลายของสัตว์เองอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ หรืออาจเกิดผ้าพันแผลหลุดออกก่อนกำหนดได้ ควรใส่ปลอกคอกันเลียให้แก่สัตว์เพื่อป้องกันการเลีย
- เปลี่ยนผ้าพันแผล และใส่ยาฆ่าเชื้อทั้งนี้ระยะเวลาขึ้นอยู่ที่สัตวแพทย์ระบุไว้
- หากคุณสังเกตเห็นกลิ่นหรือของเหลวที่ไหลออกมาผิดปกติขณะเปลี่ยนผ้าพันแผล ให้พาสัตว์ไปสัตวแพทย์เพื่อประเมินการรักษาใหม่
- พาสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ตามนัดหมาย
.........................................
Reference : https://www.wikihow.pet/Treat-Dog-Bites-on-Your-Cat
....................................
#เครื่องมือสัตวแพทย์ #คลินิกสัตวแพทย์ #โรงพยาบาลสัตว์ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง #อุปกรณ์สัตวแพทย์ #BEC #becvet #BECpremium #ความอันตรายของสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน
#สำรวจและสร้างความปลอดภัยให้สัตว์เลี้ยง #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง #อุปกรณ์สัตวแพทย์ #ความอันตรายของสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน #สัตว์เลี้ยง
Share this entry