ทำไม? ต้องติดหมายเลขประจำตัวสัตว์เลี้ยง (ไมโครชิป)

คำถามที่พบบ่อยครั้ง วันนี้เรามารู้จักเจ้าไมโครชิปกันค่ะ

เคยมั้ย เมื่อสัตว์เลี้ยงของเรามีนิสัยชอบหนีเที่ยวบังเอิญหลุดออกไปจากบ้านหรือหายไประหว่างพาไปเที่ยว ซึ่งสร้างความกังวลให้กับเจ้าของเป็นอย่างมาก

ถึงเจ้าไมโครชิปจะไม่สามารถติดตามทันทีว่าสัตว์ของท่านอยู่ที่ใด แต่ไมโครชิปมีประโยชน์หลายอย่าง
เช่น เวลาไปต่างประเทศ, สัตว์เลี้ยงหาย , การพัฒนาสายพันธุ์ , การซื้อขายไม่ผิดตัว , การประกวดไม่
สลับตัว เป็นต้น

แต่อย่างน้อยเมื่อสัตว์เลี้ยงของท่านหาย หากมีผู้พบและนำมาให้ศูนย์ติดตั้งไมโครชิปที่มีอยู่ทั่วไปตรวจสอบหมายเลข หรือทางหน่วยงาน กทม. พบเข้าก็สามารถทราบเลขประจำตัวและตรวจสอบหาเจ้าของได้จากฐานข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้ เขาจะถูกนำส่งกลับบ้านอย่างปลอดภัย หรือหากมีผู้จับสัตว์ไปอุปการะแต่ไม่ยอมคืนเจ้าของ ท่านก็สามารถยืนยันความเป็นเจ้าของได้จากใบรับรองการติดตั้งบัตรประจำตัวสัตว์อิเล็กทรอนิกส์

ไมโครชิปทำงานอย่างไร

- ไมโครชิปใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (radio frequency identification/ RFID) หรือ เทคโนโลยีการระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นวิทยุ

- ไมโครชิปจะมีบันทึกเลขประจำตัวไว้ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกันสำหรับสัตว์แต่ละตัวหมายเลขไมโครชิปมี 15 หลัก

- หมายเลขประจำตัวนี้จะเชื่อมโยงอยู่กับระบบฐานข้อมูลออนไลน์ที่ บันทึกข้อมูลการติดต่อกับครอบครัวของสัตว์ตัวนั้นๆ

- ใช้เครื่องสแกน Pocket Reader จะแสดงผลออกมาเป็นหมายเลข ประจำชิปนั้นๆ

- นำหมายเลขประจำตัวนี้ไปหาในระบบฐานข้อมูลออนไลน์ จะ สามารถค้นหาข้อมูลการติดต่อ และพาสัตว์เลี้ยงตัวนั้นคืนสู่ครอบครัว มันได้



ขั้นตอนการติดไมโครชิปเป็นอย่างไร
- แจ้งความประสงค์ที่คลีนิคสัตวแพทย์ หรือสถานพยาบาลสัตว์ที่เป็นศูนย์ติดตั้งไมโครชิป
- เจ้าหน้าที่จะดำเนินการฉีดไมโครชิป เข้าไปบริเวณหลังคอ
- ออกเอกสารรับรองการฉีดไมโครชิป

ข้อควรทราบ
- ไมโครชิป BEC มาจาก บริษัท เพ็ทแทรค ไทย จำกัด เป็น Microchip ที่ผลิตจากโรงงาน Orntana Intertrade ที่ได้รับมาตรฐาน ISO และการรับรองจาก ICAR (The International Committee for Animal Recording) ซึ่งเป็นองค์กรกลางระหว่างประเทศในการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐาน Microchip กทม. ยอมรับให้ใช้ในการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงได้
- หมายเลขไมโครชิปมี 15 หลัก ปัจจุบันรหัสเริ่มต้นของเพ็ทแทรคไทย คือ 933.XXXXXXXXXXXX ส่วนหมายเลขอีก 12 หลักที่เหลือ จะเป็นเลขที่ถูกกำหนดขึ้น และเรียงตามกัน เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน
- จะไม่มีการซ้ำซ้อนกับเลข ID ของปศุสัตว์ทั้งในและต่างประเทศที่ใช้ Ear Tag หรือ RFID ในการระบุบ่งชี้ตัวสัตว์และสามารถตรวจสอบหมายเลขไมโครชิบได้ที่ https://www.service-icar.com/tables/Tabella1.php?table=1)
- มีข้อมูลมาว่า ในปัจจุบันมีไมโครชิปรุ่นเก่าที่เป็น 7 หลักหรือเป็นไมโครชิปที่เสี่ยงไม่ได้มาตราฐานเอามาทำการฝังที่ตัวสัตว์ ซึ่งทาง กทม. ไม่อนุญาตให้ผ่าน ดังนั้นเมื่อตรวจพบต้องผ่าตัดเอาไมโครชิปเดิมออกก่อน ค่อยฝังอันใหม่

------------
ถึงแม้ไมโครชิป อาจจะไม่ใช่เรดาร์ตามสัตว์เลี้ยง แต่อย่างน้อยการที่เราติดไว้ก็ไม่เสียหายหากสัตว์เลี้ยงชอบเผลอเรอแอบออกไปเที่ยวนอกบ้าน หรือหลุดไปจากบ้าน หากใครพบเจอนำมาแจ้งตามศูนย์ ก็จะสามารถตรวจพบหาเจ้าของได้ในที่สุดค่ะ

 

Share this entry