Top 5 Tips for interpreting Heartworm Test Results
เมษายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์เรื่องโรคพยาธิหนอนหัวใจ (National Heartworm(HW) Awareness Month) ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อพยาธิที่เติบโตอยู่ภายในหัวใจและหลอดเลือดปอดทั้งในสุนัขและแมว ซึ่งทำลายสุขภาพและคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงทั้งในขณะที่มีการติดเชื้อ และ ต่อเนื่องภายหลังจากการรักษาแล้ว ยิ่งในประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้นที่มีการระบาดของยุงที่เป็นพาหะของโรคนี้ตลอดทั้งปี ยิ่งทำให้โอกาสที่สัตว์เลี้ยงจะได้รับเชื้อสูงกว่าประเทศในเขตหนาวที่ยุงจะมีฤดูกาลแค่ไม่กี่เดือนในรอบปี สำหรับสัตวแพทย์ที่ต้องทำการวินิจฉัยและรักษาโรคHWนี้ ก็มีความลำบากไม่แพ้กัน เนื่องจากการตรวจด้วย test ทั่วไป อาจให้ผลผิดพลาดได้ทั้งในสุนัขและในแมวด้วยสาเหตุหลายประการ ถึงแม้ การตรวจด้วย antigen test เป็นการตรวจที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แต่ก็แนะนำให้ทำการตรวจวินิจฉัยมากกว่าหนึ่งประเภทการตรวจ ทั้งในสุนัข(ตรวจหาทั้ง antigen และ microfilariae) และแมว(อาจจะต้องขอการตรวจ antibody) เพิ่มเติมด้วย ในบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอ 5 Tips สำคัญที่จะช่วยให้คุณหมอสามารถทำการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ HW ทั้งในสุนัขและแมวที่แตกต่างกันได้ง่ายขึ้น
1. Microfilariae-Positive; No Antigen Detected
การพบ adult worms แต่ไม่มี circulating microfilariae (เรียกว่า occult infection) สามารถพบได้มากถึง 20% ของสุนัขที่ติดเชื้อ และมักจะเกิดเป็นผลตามมาจาก immune-mediated ของ host หรือเกิดจากการตอบสนองต่อการรักษาทางยา อีกทั้งยังสามารถตรวจพบ microfilariae ได้ทั้งที่การตรวจ antigen-negative ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ HW ร่วมกันมากกว่า 1 สายพันธุ์, การได้รับการถ่ายเลือดจากสุนัขที่ติดเชื้อ หรือแม้แต่ปฏิกิริยาของร่างกายที่สร้าง antibody ขึ้นมาจับกับ antigen แล้วรบกวนการตรวจหา antigen จากการตรวจ test ซึ่งในสัตว์ป่วยที่พบปัญหานี้ควรจะเก็บ fresh blood sample ไว้ทดสอบต่อในภายหลังด้วย
แนะนำให้ตรวจ modified Knott’s test เพื่อยืนยันการพบ microfilariae และการตรวจ heat-treated serum(การตรวจด้วยความร้อนจะปลดการจับตัวของ Ag-Ab ออกจากกัน และปล่อยให้ Antigen เป็นอิสระสามารถตรวจพบได้) ซึ่งสามารถส่งตัวอย่างให้กับห้องปฏิบัติการทางสัตวแพทย์ตรวจได้
2.Antigen-Positive After Melarsomine Treatment
ถึงแม้การรักษาด้วยยา melarsomine จะให้ประสิทธิภาพเป็นอย่างดี แต่อาจจะมี worms กลุ่มเล็กๆที่รอดมาได้และยังทำให้ผลการตรวจพบ antigen-positive ต่อไป ดังนั้น สัตว์เลี้ยงจำเป็นต้องได้รับยาครบทั้ง 3 ครั้ง รวมทั้งปริมาณของยาที่ได้รับ ระยะห่างระหว่างแต่ละเข็มที่ฉีด จะต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตแนะนำอย่างเคร่งครัด
Worms ที่ใกล้ตายหรือตายแล้วจะปล่อย antigens ออกมาให้สามารถตรวจพบไปหลังจากตายแล้วไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง(ไม่ทราบสาเหตุ) โดยทาง The American Heartworm Society (AHS) แนะนำให้ตรวจหา antigen ซ้ำในสุนัขที่ได้รับการรักษาทางยาไปแล้วครบ 9 เดือน ซึ่งหากยังพบ antigen-positive ก็แนะนำให้ melarsomine ซ้ำอีกครั้ง จำนวน 2 doses ห่างกัน 24 ชั่วโมง
3. Slow-Kill/Salvage Treatment in Antigen-Negative Dogs
ถึงแม้ว่าทาง AHS จะแนะนำให้ใช้ melarsomine เพื่อการรักษา HW เป็นหลัก แต่การใช้ยาต่อเนื่องในกลุ่ม macrocyclic lactone และ doxycycline ก็เป็นอีกทางเลือกของการรักษา (extra-label adulticidal treatment) แต่การเลือกการรักษาทางเลือกนี้จะส่งผลให้ antigen ถูกจับกับ antibody ของ host จนไม่สามารถตรวจพบได้ด้วย antigen test และจะใช้เวลาในการใช้ยาเพื่อการรักษานานกว่า melarsomine อย่างชัดเจน ดังนั้น เพื่อติดตามผลสำเร็จของการรักษา ควรส่ง blood sample ตรวจ heat-treated serum เพื่อให้แน่ใจว่าผลที่ได้เป็น antigen-negative แล้วจึงพิจารณาจบการรักษา
4. Positive or Negative Heartworm Infection in Cats
การวินิจฉัยการติดเชื้อ HW ในแมว เป็นอะไรที่ทำได้ยากกว่าในสุนัข เพราะต้องอาศัยการตรวจหาทั้ง clinical signs และ การทดสอบทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาร่วมกัน เช่น patient history, physical examination, serum chemistry profile, hematology, immunodiagnosis (ทั้ง antigen และ antibody), thoracic radiography, และ echocardiography โดยการตรวจหา microfilariae ในแมวไม่ได้ให้ประโยชน์ใดต่อการวินิจฉัยเพราะมากกว่า 95% ของแมวที่ติดเชื้อ HW จะเป็นแบบ occult infection รวมทั้งการตรวจหา antigens ของ HW ในแมวเองก็มีความยากไม่ต่างจากการตรวจในสุนัข แถมยังมีโอกาสที่ปริมาณของ antigens จะน้อยจนให้ผล negative ใน test ที่มี low sensitivity และ การถูกรบกวนจาก antigen-antibody ก็สามารถพบในแมวได้เช่นเดียวกับในสุนัข
การทดสอบร่วมกันทั้ง antigen test(ด้วยการทำ heat-treated serum) และ antibody test จึงเป็นสิ่งที่แนะนำในการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ HW ในแมว แต่ผล antigen-negative ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าไม่มีการติดเชื้อ และ antibody-positive ก็เพียงบอกได้ว่าแมวเคยมีการติดเชื้อ HW มาก่อน(เช่น larvae) เท่านั้น ดังนั้น การทดสอบหา antigen-positive ก่อนและหลังการทำ heat-treated serum จึงเป็นการทดสอบที่มีประสิทธิภาพที่สุดในแมวว่ายังมีภาวะ active heartworm infection และควรพิจารณาให้ supportive treatment เช่น corticosteroids, antihistamines ต่อไป
5. Newly Antigen-Positive
ก่อนเริ่มการรักษาการติดเชื้อ HW ทั้งในสุนัขและแมวที่ตรวจพบ antigen-positive ควรได้รับการยืนยันก่อนเสมอ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการตรวจหา D immitis microfilariae แต่อย่างไรก็ตามการตรวจหา microfilariae นี้อาจจะได้ผลเป็นลบในสุนัขที่มีการติดเชื้อ และตรวจหาได้ยากยิ่งกว่าในแมวที่ติดเชื้อ โดยอาจจะใช้การตรวจหา antigen ด้วยวิธีการอื่น หรือ ชุดตรวจที่มาจากผู้ผลิตอื่นหรือห้องปฏิบัติการคนละแห่งกับการตรวจรอบแรก
ในแมวที่ตรวจพบ antigen-positive ตั้งแต่ครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องทดสอบด้วย heat-treated serum อีกในครั้งที่ 2 แต่ให้ทำการทดสอบในแมวที่มี clinical sign แต่ antigen-negative หรือ แมวที่ตรวจพบ microfilariae และมีผล antigen-negative แทน
บทสรุป
การทดสอบหาการติดเชื้อ HW ยังคงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับสัตวแพทย์ทุกท่าน ที่จำเป็นต้องใช้การตรวจหลายรูปแบบเพื่อประกอบการวินิจฉัยเพื่อหาบทสรุป อีกทั้ง ยังต้องติดตามข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอจากทาง the American Heartworm Society ที่จะช่วยแนะนำทั้งการตรวจวินิจฉัยและการรักษาเพื่อให้สามารถดูแลสัตว์ป่วยของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
AHS Heartworm Guideline : Heartworm Guidelines - American Heartworm Society
..................................
ที่มา
Top 5 Tips for Interpreting Heartworm Test Results | Clinician's Brief (cliniciansbrief.com)
Heat Treatment for Heartworm Testing : https://youtu.be/DP007ESvFy4
.................
เรียบเรียงโดย
สพ.ญ.พิชญาภา ชมแก้ว
.................
#เครื่องมือสัตวแพทย์ #คลินิกสัตวแพทย์ #โรงพยาบาลสัตว์ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง #อุปกรณ์สัตวแพทย์ #BEC #becvet #BECpremium
Share this entry