แนวทางการพิจารณาการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข

จุดประสงค์หลักของการรักษาการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข คือ

(1)การกำจัดทุกระยะของพยาธิที่ยังมีชีวิตอยู่ ประกอบด้วย microfilariae, larval stages, juveniles และ adults พร้อมกับ

(2)ควบคุม post-treatment complication ให้เกิดน้อยที่สุด

1. Supportive Treatment

       สุนัขที่แสดงอาการของโรคHW ควรได้รับการดูแลให้ร่างกายมีสภาวะคงที่(stable) ก่อนเข้ารับยา adulticide โดยยาและสารต่างๆที่ใช้จะประกอบไปด้วย

         - Glucocorticosteroids

         - Diuretics

         - Vasodilators

         - Positive inotropic agents

         - Fluid therapy

2. Adulticide Therapy ด้วยยา Melarsomine Dihydrochloride

           เป็นยารักษาที่ใช้กำจัด adult เพียงตัวเดียวที่ได้รับการรับรองจาก FDA ให้สามารถใช้ในสุนัขได้ โดยแนะนำการให้ยาที่ deep intramuscular injection บริเวณ belly of the epaxial lumbar muscles (ระหว่าง L3 และ L5) อาการข้างเคียงที่พบคือ บวมและเจ็บปวดรอบๆบริเวณที่ฉีดยาประมาณ 2-3 วัน ซึ่งสามารถป้องกันหรือลดผลข้างเคียงนี้ได้ด้วยการฉีดเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อชั้นลึกที่แนะนำด้วยเข็มที่เปลี่ยนใหม่ทุกครั้งและมีความลึกเพียงพอเหมาะสมต่อขนาดของสุนัขแต่ละตัว ร่วมกับการให้ยาแก้ปวดกลุ่ม tramadol หรือ hydrocodone ก็ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ (myalgia) แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องจำกัดการออกกำลังกายและให้สุนัขอยู่ในสถานที่และสภาวะที่ไม่กระตุ้นให้ตื่นเต้นตลอดระยะเวลาการรักษา เพื่อลดความรุนแรงของ cardiopulmonary complication ที่จะเกิดตามมาจากการตายของ adult ให้น้อยที่สุด 

         การใช้ยา melarsomine นี้จะพิจารณาความเหมาะสมและปริมาณในการให้ยาแตกต่างกันตาม Class ของอาการที่แสดงที่เกิดจากการติดเชื้อ HW โดยแบ่งออกเป็น 4 Class ดังนี้

       -  Class 1 ; Asymptomatic to mild ไม่พบความผิดปกติจากการฉายภาพรังสีรวมทั้งไม่พบภาวะ anemia อาจจะพบเพียงน้ำหนักลด เหนื่อยง่าย หรือ ไอบ้างเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆจะมีความผิดปกติที่สามารถบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ HW ได้

      - Class 2 ; Moderate : จะพบความผิดปกติจาก(1)การฉายภาพรังสี(right ventricular enlargement, slight pulmonary artery enlargement หรือ circumscribed perivascular density ร่วมกับ mixed alveolar/interstitial lesions) และพบ(2)ภาวะ anemia ร่วมด้วย(ค่าPCV ประมาณ 20-30%) อาจจะพบ(3)mild proteinuria(2+) โดยที่น้ำหนักตัวของสุนัขอาจไม่เปลี่ยนแปลงเลยหรือแค่ลดลงเล็กน้อย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไอเป็นครั้งคราว หรือ พบความผิดปกติของ lung sound

     - Class 3 ; Severe : สุนัขที่อยู่ใน class นี้จะพิจารณาเป็น guarded prognosis เพราะมีความผิดปกติที่พบได้ชัดเจน ประกอบด้วย (1)cardiac cachexia (2)อาการร่วมกันของภาวะ right heart failure คือ ascites และ jugular pulse ภายฉายรังสีจะแสดงให้เห็น (3)right ventricular enlargement หรือ ร่วมกับ right atrial enlargement (4)severe pulmonary artery enlargement (5)chronic mixed patterns และ diffuse patterns ของ pulmonary density หรืออาจะพบภาวะ thromboembolism ร่วมด้วย (6)proteinuria (>2+) สุนัขจะแสดงอาการรุนแรงปานกลางถึงมาก ทั้งการไอหรือเหนื่อยอยู่ตลอดเวลา หายใจลำบาก(dypnea) ความผิดปกติของ heart & lung sound, hepatomegaly, syncope(เกิดขึ้นชั่วคราวเนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง), ascites และมีโอกาสตาย 

     -  Class 4 : Very severe เป็น class ที่พบ caval syndrome(พบ D. immitis ใน venae cavae และ right atrium)  สุนัขมีโอกาสที่จะเกิด sudden onset of severe lethargy อ่อนแรงอย่างมาก(weakness) และพบร่วมกับภาวะ hemoglobinuria และ hemoglobinemia

 

3. ข้อควรระวัง

      - สุนัขที่พิจารณาอยู่ใน Class 2 และ 3 จะต้องได้รับ supportive treatment (Class 1 แล้วแต่สัตวแพทย์เห็นสมควร) เพื่อให้สภาวะร่างกายคงที่ก่อนได้รับยา melarsomine เสนอ ส่วน Class 4 เป็นระยะที่การใช้ยา melarsomine นั้นถูกพิจารณาเป็น contraindication ไปแล้วเพราะร่างกายของสุนัขอ่อนแอและผิดปกติมากจนอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการตายของ HW จนส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้(สามารถหาข้อมูลการรักษา class 4 จาก guidelines ของ AHS)

       - สุนัขทุกตัวที่พบการติดเชื้อ HW และเข้ารับการรักษามีโอกาสที่จะเกิดภาวะ post-treatment pulmonary thromboembolism (มีไข้ อ่อนแรงและไอ) ที่เกิดจากการตายของพยาธิได้ทุก class ของอาการ โดยจะพบอาการนี้ในสุนัขที่มีปัญหา pulmonary artery ร่วมด้วยได้รุนแรงกว่า เพื่อป้องกันและลดอันตรายจากภาวะนี้ลงจึงควรที่จะจำกัดพื้นที่และสภาพแวดล้อม(กันสุนัขให้ห่างจากแสงและสิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น)  

       - ควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิดหลังได้รับยาทุกครั้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง(พบ adverse reaction ในเข็มที่ 2 บ่อยกว่าเข็มแรก) และแนะนำให้สุนัขที่อยู่ใน Class 3 พักรักษาตัวอยู่ที่สถานพยาบาลสัตว์ระหว่างที่เข้ารับยาเพราะจะได้ช่วยลดโอกาสที่จะเกิด post-treatment mortality จาก thromboembolism ได้(พบการตายได้ 10-20% ของclassนี้จากการรักษาด้วย melarsomine)

 

4. การใช้ยาอื่นที่ช่วยเสริมการรักษา

        - Doxycycline : การใช้ยานี้จะช่วยกำจัด Wolbachia ที่เป็น endo-symbiotic bacteria ของ D. immitis ในทุกระยะ ส่งผลให้ตัวอ่อนระยะ L3และL4 ตาย และลดปริมาณของ microfilaremia จาก adult stage ได้อีกด้วย  รวมทั้ง การให้ 10mg/kg BID ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ก่อนรักษาด้วย melarsomine จะช่วยลดปัญหาที่เกิดจาก Wolbachia surface protein(WSF) ภายหลังการตายของ HW อีกด้วย(WSF กระตุ้น IgG ของสุนัขส่งผลให้เกิดการอักเสบของไตและหลอดเลือดpulmonaryตามมา)   

       - Macrocyclic Lactones : เพราะยา melarsomine จะออกฤทธิ์ได้ดีกับ adult stage เท่านั้น จึงยังมี larval stage ที่หลงเหลืออยู่และจะเจริญไปเป็น adult ต่อไป การให้ยากลุ่ม macrocyclic เป็นเวลา 2 เดือนก่อนให้สุนัขเข้ารับการรักษาด้วย melarsomine จะช่วยลดการเกิดใหม่ของ adult stage และกำจัด larval stage ที่มีอยู่ในร่างกายไปด้วย แต่ให้ระวังการใช้ในสุนัขที่มีปริมาณของ microfilariae สูงซึ่งเมื่อตายลงพร้อมกันอาจโน้มนำให้เกิดการอักเสบของร่างกายได้ FDA แนะนำให้ใช้ Topical Moxidectin สำหรับสุนัขที่พบ heartworm-positive ซึ่งพบว่าไม่ก่อให้เกิด adverse reactions รวมทั้ง การให้ antihistamine ร่วมกับ glucocorticosteroids ก็สามารถช่วยลดความรุนแรงลงได้

5. บทสรุป

        เพราะความยุ่งยากในการประเมินและการรักษาสุนัขที่พบปัญหาจากการติดเชื้อพยาธิหนอนหัวใจและความลำบากในการดูแลป้องกันผลที่จะเกิดตามมาภายหลังการรักษาด้วย melarsomine  ดังนั้น สัตวแพทย์จึงควรแนะนำให้เจ้าของสุนัขใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการติดเชื้ออยู่อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้ง คอยติดตามข้อมูลการรักษาและแนวทางปฏิบัติของทาง The American Heartworm Society อยู่เสมอนะคะ

.................
ที่มา 

IMMITICIDE Dosage And Administration : https://www.drugs.com/vet/immiticide.html

Current Canine Guidelines for the Prevention, Diagnosis, and Management of Heartworm (Dirofilaria immitis) Infection in Dogs : https://d3ft8sckhnqim2.cloudfront.net/images/pdf/AHS_Canine_Guidelines_11_13_20.pdf?1605556516

.................
เรียบเรียงโดย 
สพ.ญ.พิชญาภา ชมแก้ว
.................
#เครื่องมือสัตวแพทย์​ #คลินิกสัตวแพทย์​ #โรงพยาบาลสัตว์​ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง​ #อุปกรณ์สัตวแพทย์​ #BEC​ #becvet​ #BECpremium

 

Share this entry