การเลือกใช้ Screw ในการศัลยกรรมกระดูก (Orthopedic Surgery)

การศัลยกรรมกระดูกทางสัตวแพทย์ในปัจจุบันนี้ มีการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการศัลยกรรม เพื่อให้กระดูกที่หัก หรือแตก สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Pin , Plate , Screw ,Wire  

การใช้ Plate และ Screw สามารถช่วยให้กระดูกที่หัก  หรือแตกนั้นเกิดการเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด Plate และ Screw มีอยู่หลายรูปแบบในการใช้งาน ตามลักษณะการแตกหัก ตำแหน่ง รวมถึงชนิดของกระดูก

Screw นั้นเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเลือกใช้งานตามชนิดของกระดูกที่หัก หรือแตก

 

ชนิดของ Screw

Screw ที่เลือกใช้ในการศัลยกรรมกระดูกแบ่งได้ดังนี้

1. Cortical Screw
ใช้กับกระดูก Cortical Bone หรือกระดูกเนื้อแน่นเป็นกระดูกที่มีเนื้อกระดูกหนาแน่น และเรียงตัวกันเป็นชั้น จนกลายเป็นพื้นผิวของกระดูกเพื่อป้องกันโพรงภายใน และค้ำจุนร่างกาย

ลักษณะของ Screw จะมีระยะเกลียวที่แคบและถี่และแกนกลางของเกลียวที่หนา เพื่อให้มีความแข็งแรงมากในการยึด Cortical Bone ที่มีเนื้อกระดูกหนาแน่น

2.Cancellous Screw

ใช้กับกระดูก Cancellous Bone หรือกระดูกเนื้อนิ่มเป็นกระดูกที่มีเนื้อกระดูกเป็นลักษณะโปร่งคล้ายเส้นใยภายในโพรงกระดูก จึงมีความแข็งแรงน้อยกว่า Cortical Bone แต่มีพื้นที่ผิวมากกว่า เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำ

ลักษณะของ Screw จะมีระยะเกลียวที่หางมากกว่ากับแกนกลางของเกลียวจะหนาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ Cortical Screw เพื่อให้มีพื้นที่ในการจับกระดูกCancellous Bone ที่มีเนื้อกระดูกนิ่มได้มาก

3. Self-tapping Screw

Self-tapping Screw เป็น Screw ที่สามารถทำเกลียวได้ด้วยตัวเอง

โดยปกติการใส่ Screw จำเป็นต้องใช้ Tap ในการทำเกลียวก่อนที่จะใส่ Screw ทุกครั้ง แต่สำหรับ Self-tapping Screw สามารถใส่ Screw ได้ทันที โดยไม่ต้องใช้ Tap ในการทำเกลียวก่อน

Self-tapping Screw มีทั้งแบบ Cortical Self-tapping Screw และ Cancellous Self-tapping Screw

 

วิธีการดู Screw

แบบไหนเป็น Self-tapping เทียบกับ Screw ปกติ

1. Self-tapping Cortical Screw เทียบกับ Cortical Screw ปกติ

สังเกตที่ปลายเกลียวของ Screw ในส่วนของ Self-tapping ตรงปลายจะมีลักษณะตัดเฉียงที่เรียกว่า Cutting Flutes ซึ่ง Screw ปกติปลายจะไม่มีการตัดเฉียง ดังรูป

2. Self-tapping Cancellous Screw เทียบกับ Cancellous Screw ปกติ

สังเกตที่ปลายเกลียวของ Screw ในส่วนของ Self-tappingตรงปลายจะมีลักษณะเกลียวแหลมเหมือนตะปู ซึ่ง Screw ปกติปลายจะโค้งมนไม่แหลม ดังรูป

 

ข้อดี

Self-tapping Screw เทียบกับ Screw ปกต

สามารถใส่ Screw ได้ทันที และรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Tap ทำเกลียว ช่วยลดเวลาในการศัลยกรรมกระดูกได้

เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ Tap ทำเกลียว จึงทำให้ไม่ต้องมี Tap และอุปกรณ์อื่นที่ใช้รวมกัน จึงช่วยลดขั้นตอนในการทำและใช้อุปกรณ์ในการศัลยกรรมกระดูกน้อยกว่า

Self-tapping Screw จะสามารถทำเกลียวที่ยึดกับกระดูกได้แน่น เพราะมีเกลียวคมกว่า Screw แบบปกติ เพื่อช่วยในการเหนี่ยวนำให้เกิดเกลียว  รวมถึงปลายเกลียวลักษณะเป็นรอยตัดที่ช่วยในการกำจัดเศษของกระดูกเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัดขณะทำการไข Screw เข้าไปยังกระดูก

Cortical Self-tapping Screw สามารถใช้กับ Cortical Bone ที่มีชั้นกระดูกบาง รวมถึง Cancellous Bone ได้ แต่ใน Cancellous Bone ความสามารถในการยึดกระดูกของ Cortical Self-tapping Screw จะไม่ดีเท่ากับ Cancellous Self-tapping Screw

จากคุณลักษณะ และข้อดีต่าง ๆ ของ Self-tapping Screw ที่สามารถช่วยลดระยะเวลาในการศัลยกรรม รวมถึงช่วยลดจำนวนอุปกรณ์ในการศัลยกรรมกระดูก  จึงทำให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มาจากการทำศัลยกรรมกระดูกลดลง ส่งผลให้ Self-tapping Screw เริ่มเป็นที่นิยม และถูกเลือกมาใช้ในการศัลยกรรมกระดูกมากขึ้นในปัจจุบัน

............................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry