ขั้นตอนการใส่ Plate (จากตัวอย่างการใส่ plate 3.5 mm. 6 hole)

 

ขั้นตอนการใส่ Plate (จากตัวอย่างการใส่ plate 3.5 mm. 6 hole)

แยกชนิดการหักของกระดูก

ใช้ Template วัดตามขนาดของกระดูก

ใช้ Bending ดัด Plate ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ 

กรณี Plate มีขนาดใหญ่กว่า Bending แนะนำให้ใช้ Bending pliers ช่วยในการดัด

จากนั้นใช้ Bone Holding Forceps จับ Plate วางบนกระดูก อย่างน้อยควรใช้ Bone Holding Forceps 2 ตัวในการจับ

ใช้ Drill guide 3.5 ด้านสีเหลืองนำทาง จากนั้นเลือก Drill bit ขนาด 2.5 เจาะรู โดยขณะเจาะต้องให้ลูกศรชี้ไปที่ตำแหน่งการหักของกระดูก

ใช้ Depth Gauge วัดความลึกของรู กรณีวัดได้ 20 มม. ในการเลือกขนาดของสกรูควรบวกความยาวเพิ่มอีกประมาณ 2 มม. จะได้สกรูขนาด 22 มม. ควรเลือกสกรูให้มีขนาดยาวกว่าความลึกที่วัดได้ทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้สกรูสั้นเกินไป ทำให้ไม่สามารถยึดติดกับ Cortex อีกฝั่งได้

ใช้ Bone tab ขนาด 2.5 มม. ทำเกลียวสกรู โดยให้ Tab หมุนตามเข็มนาฬิกา กรณีมีเนื้อเยืิ่ออื่น ๆ รอบบริเวณการทำงานควรใช้ Drill sleeve เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อด้วย

เลือกสกรูตามขนาดที่ต้องการ แล้วใช้ Hex screwdriver จับส่วนหัวของสกรู

ใส่สกรูลงตามรูเกลียวที่เตรียมไว้ แล้วหมุนตามเข็มนาฬิกาให้สกรูแน่นพอดีจากนั้นทำซ้ำตามขั้นตอนที่ 5-9 ในรูตรงข้ามกับรอยหักของกระดูก

เมื่อ Plate ถูกยึดกับกระดูกด้วยสกรู 2 ตำแหน่งแล้ว กระดูกจะถูกยึดติดด้วยแรง Compression จากนั้นให้ใส่สกรูเพิ่มในแต่ละข้าง โดยใช้ Drill guide ด้านสีเขียว เพื่อให้เกิดแรง Neutralization และจากนั้นทำตามขั้นตอนที่ 5-9 จนเสร็จ

ทำตามขั้นตอนที่  10 ซ้ำ ในตำแหน่งตรงข้ามกัน

นำ Bone Holding Forceps ออกทีละด้านแล้วใส่สกรูตามขั้นตอนปกติ Plate ให้เกิดแรง Compression ต้องเลือกใส่สกรูจากด้านใกล้รอยแตกออกไป (โดยปกติการทำให้เกิดแรง Compression จะต้องทำกับสกรู 2-4 ตัวเท่านั้น )

 

...................................................
บทความโดย : น.สพ.พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

Share this entry