URINARY CATHETER
ท่อสวนปัสสาวะ (Urinary Catheter)
มีหลายชนิดวัสดุและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานที่แตกต่าง โดยมีการแบ่งระยะการใช้งานที่สามารถทิ้งไว้ในร่างกายได้นานเท่าไรเพื่อการเลือกใช้งาน
ท่อสวนปัสสาวะที่ใช้เพื่อการสวนผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะชั่วคราว (Short term < 10 min)
จุดประสงค์ในการใช้งาน
- เพื่อเก็บตัวอย่างปัสสาวะ (Urine sample collection)
- เปิดทางผ่านจากท่อทางเดินปัสสาวะ (Urethra)
- ลดแรงดันภายในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder tension refief)
- ล้างกระเพาะปัสสาวะ (Bladder lavage)
ท่อสวนปัสสาวะในกลุ่มนี้คือ
Buster HC Urinary Catheter วัสดุนิ่มกว่า BUSTER Dog Catheter และผิวของวัสดุจะมีเจลหล่อลื่นเคลือบเมื่อแช่อุปกรณ์ในน้ำก่อนเริ่มใช้งาน
จุดเด่น : วัสดุมีความอ่อนตัว เจลเคลือบภายนอกตลอดความยาวท่อเพื่อลดการระคายเคืองและความเสียหายต่อท่อทางเดินปัสสาวะ
จุดด้อย : หากท่อทางเดินปัสสาวะมีเมือกหรือนิ่วขวางจำนวนมากอาจจะไม่สามารถผ่านไปได้
ท่อสวนปัสสาวะที่ใช้เพื่อการสวนผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและทิ้งไว้ในร่างกายชั่วเวลาสั้นๆ (Medium term < 7 days)
จุดประสงค์ในการใช้งาน
- เพื่อเก็บตัวอย่างปัสสาวะ (Urine sample collection)
- เปิดทางผ่านจากท่อทางเดินปัสสาวะ (Urethra)
- ลดแรงดันภายในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder tension relief)
- ล้างกระเพาะปัสสาวะ (Bladder lavage)
คาท่อปัสสาวะทิ้งไว้ชั่วเวลาหนึ่ง เช่น เพื่อให้ปัสสาวะระบายออกได้ขณะผ่าตัด หรือ ขณะที่ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลสัตว์ (ไม่เกิน 7 วัน)
Buster Cat Catheter ท่อสวนปัสสาวะสำหรับแมว มีให้เลือก 2 ตำแหน่งของรูเปิดเพื่อให้เหมาะต่อการใช้งาน (ใช้งานได้ 1-3 วัน)
Open end : ปลายมนและมีรูเปิดที่ปลายท่อสวน เพื่อให้สามารถ Flush ของเหลวเพื่อไล่เอาเมือกและนิ่วขนาดเล็กเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะเพื่อเปิดให้ทางเดินปัสสาวะโล่ง แต่เนื่องจากมีช่องเปิดแค่ทางเดียว จึงทำให้มีโอกาสที่เศษตะกอนในปัสสาวะจะมาอุดกั้นทางระบายมากกว่า Close end ที่มีช่องเปิด 2 ทาง
Close end : ปลายมนปิด และมีรูเปิดด้านข้าง 2 รู เพื่อความสะดวกในการระบายปัสสาวะออกได้โดยง่ายในขณะที่คาท่อไว้ในร่างกาย และสามารถเลือกชนิดที่มีแกนเหล็ก (stylet) เพื่อเสริมความแข็งแรงในขณะที่สวนปัสสาวะผ่านก่อนที่จะถอนออกเพื่อคาท่อทิ้งไว้ไม่เกิน 3 วัน
BUSTER Dog Catheter Side holes วัสดุผลิตจาก polypropylene ปลายปิดมนและมีรูเปิดด้านข้าง 2 รู (คาทิ้งไว้ได้ 10 นาที – 2 วัน)
จุดเด่น : วัสดุมีความแข็งแรงจึงเหมาะต่อการใช้สวนเพื่อเปิดทางท่อปัสสาวะที่อาจจะมีเมือกหรือนิ่วขนาดเล็กอุดตัน
จุดด้อย : เนื่องจากวัสดุแข็ง จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทางเดินปัสสาวะได้
BUSTER NC Urinary Catheter Side holes วัสดุนิ่มกว่า Dog catheter และมีสเกลสำหรับวัดความยาวที่ต้องการได้ (คาทิ้งไว้ได้ 10 นาที – 2 วัน)
จุดเด่น : วัสดุมีความนิ่มและโค้งตามรูปร่างได้ง่าย ลดการเกิดปัญหาต่อทางเดินปัสสาวะ พร้อมสเกลสำหรับวัดความยาว
จุดด้อย : หากท่อทางเดินปัสสาวะมีเมือกหรือนิ่วขวางจำนวนมากอาจจะไม่สามารถผ่านไปได้
ท่อสวนปัสสาวะที่ใช้เพื่อการสวนผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและทิ้งไว้ในร่างกายเวลานานๆ (Up to 7 days)
จุดประสงค์ในการใช้งาน
- เพื่อเก็บตัวอย่างปัสสาวะ (Urine sample collection)
- ลดแรงดันภายในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder tension relief)
- ล้างกระเพาะปัสสาวะ (Bladder lavage)
คาท่อปัสสาวะทิ้งไว้ชั่วเวลาหนึ่ง เช่น เพื่อให้ปัสสาวะระบายออกได้ขณะผ่าตัด หรือ ขณะที่ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลสัตว์ (สูงสุด 7 วัน)
BUSTER Barium Catheter ผลิตจากวัสดุ polyurethane พร้อมสารแบเรียมที่ทำให้สามารถมองเห็นได้จากการถ่ายภาพ X-ray
จุดเด่น : Polyurethane จะอ่อนนิ่มลงเมื่ออยู่ในอุณหภูมิของร่างกาย เหมาะสมต่อการใช้งานในระยะเวลานานและสำหรับกรณีที่ต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสัตว์ พร้อมทั้งมีช่องเปิด 2 ช่อง ด้านข้าง และปลายปิดมนเพื่อลดการระคายเคือง
จุดด้อย : หากท่อทางเดินปัสสาวะมีเมือกหรือนิ่วขวางจำนวนมากอาจจะไม่สามารถผ่านไปได้
BUSTER Foley Catheter ผลิตจาก silicone ที่มีความคงตัวเมื่ออยู่ในร่างกาย (Biocompatability) พร้อมแกนโลหะที่สามารถถอนออกได้ง่ายหลังจากการสอดท่อสำเร็จแล้ว
จุดเด่น : ผลิตจาก 100% Silicone พร้อมช่องเปิด 2 ช่อง และปลายปิดมนลดการระคายเคือง ตลอดความยาวของ Foley มีเส้นทึบที่มองเห็นจากภาพ X-rays ได้
จุดด้อย : ถึงแม้วัสดุจะมีความเหมาะสมที่สามารถคาท่อทิ้งไว้ได้นาน (ประมาณ 28 วัน) แต่เพื่อลดโอกาสที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบทางเดินปัสสาวะจากการระคายเคืองและเป็นแหล่งให้เชื้อแบคทีเรียมาจับตัวสะสม จึงแนะนำให้ใช้งานไม่เกิน 7 วันหรือตามความเห็นของสัตวแพทย์
1. วัสดุที่แตกต่างกันจะมีผลต่อ Biocompatability ของวัสดุเมื่ออยู่ภายในร่างกาย ดังนั้น ควรเลือกใช้ชนิดของท่อสวนให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน
2. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ซ้ำ เนื่องจากหลังการใช้งาน พื้นผิวของวัสดุจะเริ่มขรุขระจากการที่ปัสสาวะกัดกร่อน ดังนั้น การคาท่อปัสสาวะเป็นเวลานานหรือการใช้ซ้ำจะทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียตามบริเวณที่ขรุขระได้ง่ายและมากกว่าอุปกรณ์ที่เปิดใช้งานใหม่
3. ระยะเวลาที่ระบุต่อการใช้อุปกรณ์แต่ละชนิด สามารถปรับเปลี่ยนได้เล็กน้อยตามความเห็นของสัตวแพทย์ถึงสภาวะของสัตว์ป่วย
บทความโดย
สพ. ญ. พิชญาภา ชมแก้ว
Share this entry