อย่างลืมเช็คก่อนฉีด Microchip ในสุนัขและแมว

สามารถทำได้โดยการฉีด Microchip เข้าไปที่ใต้ผิวหนัง ตรงตำแหน่งกึ่งกลางหลังระหว่างสะบักทั้งสองข้าง ถึงแม้ว่าจะเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาไม่นาน ไม่จำเป็นต้องวางยาสลบและมีอันตรายน้อย แต่สุนัขและแมวที่ทำการฉีด Microchip จะได้รับความเจ็บปวดเล็กน้อย รวมถึงเกิดความเครียดภายหลังจากการฉีดได้
การเกิดความผิดพลาดจากการฉีด Microchip อาจจะส่งผลให้เกิดความเสียหายที่ตามมา เช่น Microchip ที่ถูกฉีดไม่เข้าสู่ตัวสัตว์ หรือตัวสัตว์ได้รับ Microchip เพิ่มทั้งที่เคยมีการฉีดMicrochip มาก่อนแล้ว ทำให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวด และความเครียดโดยไม่จำเป็น
เพราะฉะนั้นเพื่อให้การฉีด Microchip สามารถทำได้โดยเสร็จสมบูรณ์ภายในครั้งเดียวจึงมีความสำคัญ
สิ่งที่ควรทำก่อนฉีด Microchip ในสุนัขและแมว
1. ทำการซักประวัติสุนัขและแมวจากเจ้าของ
ก่อนทำการฉีดเพื่อให้ทราบว่าเคยมีประวัติการทำ Microchip มาก่อนหรือไม่
2. ทางสัตวแพทย์ควรทำการตรวจสอบสัตว์
ก่อนทำการฉีด Microchip โดยใช้เครื่องอ่าน Microchip ทำการสแกน Microchip รอบตัวสัตว์ ว่าสัตว์เลี้ยงมี Microchip อยู่หรือไม่ ทั้งในกรณีที่เจ้าของไม่ทราบประวัติการทำ Microchip ของสัตว์ หรือทราบประวัติก็ตาม
3. เมื่อทำการซักประวัติ และทำการตรวจสอบ Microchip
ทำการตรวจสอบบนตัวสัตว์เรียบร้อยแล้ว พบว่ามี Microchip ติดตั้งอยู่แล้วให้ทางสัตวแพทย์ทำการระบุเลข Microchip ดังกล่าวลงในประวัติของสัตว์ และ OPD โดยไม่จำเป็นต้องทำการฉีด Microchip เข้าไปใหม่ เพื่อลดการบาดเจ็บ และความเครียด แต่ถ้าไม่พบว่าตัวสัตว์มี Microchip ติดตั้งอยู่ จึงจะพิจารณาทำการฉีด Microchip ให้กับสัตว์ได้
4. สัตวแพทย์ทำการเตรียม Microchip ปลอดเชื้อ
โดยตรวจสอบหมายเลข Microchip ขณะอยู่ในซองปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องอ่าน Microchip สแกน เพื่อตรวจสอบตัวเลขใน Microchip ว่าตรงกับสติกเกอร์ Barcode ที่อยู่ภายในซอง ปลอดเชื้อ หรือไม่ ในกรณีที่ตัวเลขตรงกัน จะสามารถนำ Microchip ในซองออกมาทำการฉีดเข้าสู่ตัวสัตว์ได้ แต่ถ้าตัวเลขไม่ตรง ให้ทำการนำ Microchip ปลอดเชื้อตัวใหม่ที่มีเลข Microchip ตรงกันกับสติกเกอร์ Barcode ที่อยู่ภายในซองเดียวกัน
5. ทำการฉีด Microchip เข้าสู่ตัวสัตว์ใต้ผิวหนัง
ที่ตำแหน่งกึ่งกลางหลังระหว่างสะบักทั้งสองข้าง โดยสังเกตเข็มที่ทำการฉีด Microchip ว่าเข้าสู่ใต้ผิวหนังของสัตว์แล้ว โดยระวังไม่ให้เข็มทะลุออกมาอีกฝั่งนึง หรือเข็มยังไม่เข้าสู่ใต้ผิวหนังของสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้ Microchip หลุดออกจากตัวสัตว์ในขณะทำการฉีด
6. หลังฉีด Microchip แล้ว ให้ทำการตรวจสอบหมายเลข Microchip
ในตัวสัตว์อีกครั้งด้วยเครื่องอ่าน Microchip หมายเลขที่อ่านได้ต้องตรงกับขั้นตอนที่ 4 ในกรณีที่ทำการตรวจสอบหมายเลข Microchip ในขั้นตอนที่ 4 อย่างถูกต้องแล้ว
ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีความสำคัญทุกขั้นตอนในการฉีด Microchip เพื่อให้การฉีด Microchip ในแต่ละครั้งสำเร็จ และไม่เกิดความผิดพลาด รวมทั้งช่วยไม่ให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวด หรือความเครียดเพิ่ม โดยไม่จำเป็น
....................
บทความโดย
น.สพ. พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ
....................
#เครื่องมือสัตวแพทย์ #คลินิกสัตวแพทย์ #โรงพยาบาลสัตว์ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง #อุปกรณ์สัตวแพทย์ #BEC #becvet #BECpremium #ครบจบที่BEC #Microchip #ไมโครชิพ #เครื่องอ่านMicrochip