สะอาดไว้ก่อนลดการติดเชื้อจากการสวนปัสสาวะ

การสวนปัสสาวะเป็นหัตถการที่ทำเป็นประจำในสุนัขและแมว และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ โดยจากการศึกษาพบว่ามีสัตว์ป่วยมากกว่า 50% มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหลังจากการสวนท่อปัสสาวะ 4 วัน บทความนี้จึงมาแนะนำวิธีการจัดการเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทั้งก่อน และหลังการสวนปัสสาวะ

การเตรียมตัวสัตว์ป่วยก่อนการสวนปัสสาวะ

1. โกนขนบริเวณรอบๆอวัยวะเพศ โดยให้กว้างจากอวัยวะเพศประมาณ 5 ซ.ม. ** ระวังบาดผิวหนัง

2. ล้างมือให้สะอาดและใส่ถุงมือตรวจโรคก่อนการทำขั้นตอนต่อไป

3. ทำความสะอาดบริเวณรอบๆอวัยวะเพศด้วย surgical scrub เช่น chlorhexidine scrub และล้างออกด้วยน้ำสะอาด **ระวังอย่าให้น้ำยาโดนบริเวณ mucosa

4. Flush ล้าง prepuce และ vulva ด้วย 0.05% chlorhexidine solution (ผสม 2% chlorhexidine 6.25ml ใน sterile water 250 ml) 5–10ml จำนวน 5 ครั้ง

5. สำหรับตัวผู้ให้ใช้น้ำยา 0.05% chlorhexidine solution ทำความสะอาดบริเวณปลาย penis ก่อนสวนท่อปัสสาวะ

6. ขณะสวนท่อปัสสาวะให้ใช้ถุงมือปลอดเชื้อ

การดูแลหลังสวนท่อปัสสาวะ

1. ต่อท่อสวนกับถุงปัสสาวะเป็นระบบปิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจากสิ่งแวดล้อม และวางถุงปัสสาวะให้ต่ำกว่าตัวสัตว์ป่วย เพื่อให้ปัสสาวะไหลออกจากท่อได้ตลอดเวลา

2. ตรวจเช็คท่อปัสสาวะ ทุก 4 ช.ม. เพื่อดูว่ามีการอุดตันของท่อหรือไม่ และวัดปริมาณปัสสาวะ เพื่อประเมิน Urine output (UOP) โดยปกติมีค่าเท่ากับ 1 - 2 ml/kg/hr

3. ทำความสะอาดบริเวณรอบๆอวัยวะเพศ และบริเวณท่อสวนอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง หรือทุกครั้งที่มีการเปื้อน โดยบริเวณรอบๆอวัยวะเพศให้ฟอกด้วย surgical scrub ล้างออกด้วยน้ำสะอาด และซับให้แห้ง หลังจากนั้นเช็ดทำความสะอาดท่อ และบริเวณอวัยวะเพศด้วย 0.05% chlorhexidine solution

4. ประเมินอาการสัตว์ป่วยอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ อุณหภูมิร่างกาย และสีของปัสสาวะ

 

การดูแลเรื่องความสะอาดอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้ และถึงแม้ว่าการสวนปัสสาวะจะเหนี่ยวนำให้เกิดการติดเชื้อ แต่ไม่ควรให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการสวนท่อปัสสาวะก่อน ควรให้เมื่อมีการติดเชื้อแล้วเท่านั้น เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยาได้ นอกจากนี้ทุกครั้งที่จะทำหัตถาการอย่าลืมล้างมือและสวมถุงมือตรวจโรคก่อนทุกครั้ง

..............
Reference

- Jamie M. Burkitt Creedon, 2023, Urethral Catheterization, Advanced Monitoring and Procedures for Small Animal Emergency and Critical Care, 2nd Edition

- Amanda C. and Joseph W. B. , 2017 , Management of Urinary Catheters, Textbook of Veterinary Internal Medicine, 8th Edition

..............

บทความโดย

สพ.ญ.อภิลักษณ์  มหัธนันท์
..................
#เครื่องมือสัตวแพทย์#คลินิกสัตวแพทย์#โรงพยาบาลสัตว์#อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์#BEC#becvet#BECpremium
#CatFlushingCatheters #สายสวนปัสสาวะแมว