ความแตกต่างของเข็มเย็บ Tapper point และ Reverse cutting

ชนิดของเข็มเย็บแผลมีผลต่อความสำเร็จในการผ่าตัด เช่นเดียวกับชนิดของวัสดุเย็บ การเลือกชนิดเข็มเย็บไม่เหมาะสมต่อเนื้อเยื่อ สามารถเพิ่มการทำลายเนื้อเยื่อ และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น การหายของแผลผ่าตัดที่ช้าลงได้ ชนิดของเข็มเย็บมีการแบ่งชนิดได้หลายแบบ

ในบทความนี้จะกล่าวถึงเข็มเย็บ 2 แบบที่มีความนิยมใช้อย่างแพร่หลาย คือ Tapper point  หรือเข็มกลม และ Reverse cutting หรือ เข็มเหลี่ยมค่ะ

เข็มเย็บกลม Tapper point ตัวเข็มจะกลมและปลายแหลม (รูปที่1 A) ทำลายเนื้อเยื่อขณะปักผ่านน้อย  (รูปที่2 A)  ทำให้เหมาะกับเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ทางเดินอาหาร มัน กระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อ เป็นต้น

เข็มเย็บเหลี่ยม Reverse cutting ตัวเข็มเป็นทรงสามเหลี่ยม โดยส่วนของฐานสามเหลี่ยมจะอยู่ด้านบน  ขอบคมทั้ง 3 ด้าน (รูปที่1B )  ทำให้ปักผ่านเนื้อเยื่อได้ง่าย ก่อให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อมากกว่าเข็มกลม (รูปที่2 B)    เหมาะกับเนื้อเยื่อที่มีความเหนียว เช่น ผิวหนัง fascia เหงือก เป็นต้น

ถ้าหากมีการนำมาใช้สลับกัน จะส่งผลต่อเนื้อเยื่อได้ คือถ้านำเข็มกลม มาเย็บเนื้อเยื่อที่ค่อนข้างเหนียว จะต้องใช้แรงในการปักมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากกว่าปกติ รวมถึงเข็มจะทื่อได้ง่าย และหากนำเข็มเหลี่ยมมาเย็บเนื้อเยื่อที่อ่อน ความคมของเข็มจะบาดเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อฉีกขาดได้ง่าย และเกิดการแยกของรอยเย็บบริเวณนั้น ซึ่งอาจเกิดภาวะแผลแตกตามมาได้

การเลือกวัสดุและเข็มเย็บที่เหมาะสม สามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ หากคุณหมอสนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ มารู้จักวัสดุเย็บและเข็มสำหรับศัลยกรรมกันเถอะ | Best Equipment Center Co., Ltd. (BEC) (bec-vet.com)

.......................

Reference :

Chad W. S., CHAPTER 16 Suture Material, Tissue Staplers, Ligation Devices, and Closure Methods, Veterinary Surgery SMALL ANIMAL 2nd  EDITION

https://obgynkey.com/needles-sutures-and-knots-2/
....................
บทความโดย

สพ.ญ.อภิลักษณ์  มหัธนันท์

....................

#เครื่องมือสัตวแพทย์#คลินิกสัตวแพทย์#โรงพยาบาลสัตว์#อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์#BEC#becvet#BECpremium #ไหมเย็บ #ไหมเย็บแผลสัตว์เลี้ยง #แผลสัตว์เลี้ยงแตก #แผลผ่าตัด #suture #SutureAnimal