สิ่งที่เจ้าของควรปฏิบัติเพื่อลดความเจ็บปวดหลังจากสัตว์เลี้ยงได้รับการผ่าตัดกระดูก

เมื่อสัตว์เลี้ยงที่คุณรักต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูก การจัดการความเจ็บปวดหลังผ่าตัดเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยงและสัตวแพทย์ การผ่าตัดกระดูกในสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งที่สำคัญ และการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จจะช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามสัตว์เลี้ยงจะมีอาการปวดตามมาในขณะพักฟื้นหลังการผ่าตัด และสิ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องทำ และต้องทำร่วมกับสัตวแพทย์เพื่อจัดการกับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดกระดูกมีดังนี้

1. การสื่อสารพูดคุยสัตวแพทย์ และรับฟังข้อมูลที่มีความสำคัญจากสัตวแพทย์

หลังจากที่สัตว์เลี้ยงของคุณได้รับการผ่าตัด สัตวแพทย์จะแจ้งให้คุณทราบถึงสิ่งจำเป็นต่าง ๆ เช่น สิ่งที่คุณควรเฝ้าระวังในอีกไม่กี่สัปดาห์ หรือหลายเดือนข้างหน้า แนวทางพิเศษต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติตามสำหรับการดูแล และขั้นตอนต่าง ๆ ในการดูแล

ในขณะเดียวกันเจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องสอบถามถึงข้อสงสัยต่าง ๆ และขอข้อมูลต่าง ๆ จากสัตวแพทย์ที่จำเป็น รวมถึงรายงานอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นไปยังสัตว์แพทย์เพื่อดำเนินการรักษา และแก้ไขต่อไป

2. ให้ยาแก่สัตว์เลี้ยงตรงตามเวลา และคำแนะนำจากสัตวแพทย์

หลังการผ่าตัดกระดูก สัตว์เลี้ยงของคุณอาจได้รับยาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และลดความเจ็บปวด ในฐานะเจ้าของสัตว์เลี้ยง #คุณต้องรับผิดชอบในการให้ยาดังกล่าวแก่สัตว์เลี้ยงอย่างถูกต้องตามที่กำหนดไว้

ควรบันทึกวัน เวลา และจำนวนยาปฏิชีวนะที่ให้ในแต่ล่ะครั้ง ถึงแม้ว่าสัตว์เลี้ยงคุณจะมีอาการดีขึ้น และตอบสนองต่อการให้ยาดีขึ้นก็ตาม หากคุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับยาที่สัตวแพทย์สั่ง ให้ปรึกษากับสัตวแพทย์เพื่อขอคำชี้แจง เนื่องจาก สัตว์เลี้ยงของคุณไม่สามารถสื่อสารกับคุณ และสัตวแพทย์ในแบบเดียวกับที่เราทำได้ และให้ระวังผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของคุณ เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ซึม และอ่อนเพลีย รวมถึงอย่าลืมปรึกษาสัตวแพทย์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของคุณ

3. ทำการดูแลแผล และการใช้ผ้าพันแผลที่เหมาะสม

สิ่งสุดท้ายที่จะนำไปสู่การฟื้นฟู และลดความเจ็บปวดให้เหลือน้อยที่สุดสำหรับสัตว์เลี้ยงของคุณ คือการดูแลแผล และการใช้ผ้าพันแผลที่เหมาะสม การรักษาบาดแผลให้แห้ง และสะอาดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันการติดเชื้อ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบาดแผล และการใช้ผ้าพันแผลที่สัตวแพทย์มอบให้ ถึงแม้ว่าจะมีเลือด หรือสารคัดหลั่งเพียงเล็กน้อยไหลออกมาจากแผลบริเวณที่ผ่าตัด รวมถึงคุณต้องระวังไม่ให้เกิดการตกขาว การมีกลิ่นเหม็น และการเกิดสีขาว สีเหลือง หรือสีเขียวที่แผลผ่าตัดของสัตว์เลี้ยง

 

นอกจากการดูแลผ้าพันแผลอย่างเหมาะสมแล้ว สัตว์เลี้ยงของคุณจะต้องสวมปลอกคอกันเลียเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงทำการเลียที่บริเวณแผล รวมถึงอุปกรณ์ หรือผ้าพันแผลต่าง ๆ ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบบริเวณแผล

………………

ที่มา : Minimizing Pain After Orthopedic Surgery for Dogs - Maryland Veterinary Surgical Services (mdvss.com)

........................

บทความโดย
น.สพ. พุทธาพงศ์ เกียรติธรรมลาภ 

........................

#เครื่องมือสัตวแพทย์#คลินิกสัตวแพทย์#โรงพยาบาลสัตว์#อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์#BEC#becvet#BECpremium #ไหมเย็บ #ไหมเย็บแผลสัตว์เลี้ยง #แผลสัตว์เลี้ยงแตก #แผลผ่าตัด #suture #SutureAnimal #ดูแลสุนัขหลังผ่าตัด #ดูแลแมวหลังผ่าตัด