ทำความรู้จักประเภทงูพิษ

งูพิษในไทยแบ่งออกเป็น 4 Families

 

1. Elapidae

- เขี้ยวสั้นอยู่บริเวณกรามบนด้านหน้า ขยับเขี้ยวไม่ได้ ทำให้ไม่ค่อย เกิดรอยกัดให้เห็น (Fang Mark)

- งูพิษในกลุ่มนี้ประกอบด้วย งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูพริก งูปล้องหวาย งูทับสมิงคลา

- พิษของงูกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท (Neurotoxin) ทำให้  เกิดอัมพาตแบบ Flaccid Paralysis

2. Viperidae(Vipers)

- เขี้ยวยาวอยู่บริเวณกรามบนด้านหน้า สามารถพับเก็บและเคลื่อนไหวเขี้ยวได้ทำให้เกิดรอยจากการกัดให้เห็น

- แยกออกเป็น Subfamilies ได้ 2 กลุ่ม  Cratalinae จะมีรู และ Viperinae จะไม่มีรู

- งูพิษในกลุ่มนี้ ประกอบด้วย งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ เป็นต้น

- พิษของกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ที่ระบบเลือด โดยทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งมีฤทธิ์ Cytotoxin ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ถูกกัดเกิดการอักเสบรุนแรง บวม และลอกหลุดออก

 

3. Hydrophiidae

- เขี้ยวสั้นอยู่บริเวณกรามบนด้านหน้า จึงไม่ทิ้งรอยการกัดไว้

- งูพิษในกลุ่มนี้ประกอบด้วย งูทะเลชนิดต่างๆ เช่น งูชายธง งูคออ่อน

- พิษของงูในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ทำลายกล้ามเนื้อ (Myotoxicity) ทำให้เกิดภาวะ Myolysis, Myoglobinemia, Myoglobinuria และภาวะ Hyperkalemia ส่งผลต่อการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจตามมา

- พบ Neurotoxicity ร่วมด้วย

4. Colubridae

- เขี้ยวสั้นอยู่กรามบนด้านในสุด ทำให้การกัดเกิดขึ้นได้ยากจึงไม่ค่อยพบว่าเป็นอันตราย 

- งูพิษในกลุ่มนี้ประกอบด้วย งูลายสาบคอแดง

- พิษของงูในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ทำลายระบบโลหิต ทำให้เกิดภาวะเลือดออกและเลือดไหลไม่หยุด

เมื่อเราพบหรือสงสัยว่า........ สัตว์เลี้ยงของเราถูกงูพิษกัดสิ่งแรกที่ควรนึกถึงคือ การนำส่งโรงพยาบาลสัตว์ให้เร็วที่สุด

การปฐมพยาบาล

1. ทำความสะอาดแผลที่ถูกงูกัด โกนขน ล้างด้วยน้ำสะอาดและยาฆ่าเชื้อเช่น แอลกอฮอล์หรือทิงเจอร์ไอโอดีน
2. ไม่ควรเอาใบไม้ รากไม้ หรือสมุนไพรต่าง ๆ มาใส่แผล เพราะจะทำให้แผลสกปรก เกิด
  การติดเชื้อ และอาจเป็นบาดทะยักได้
3. ตำแหน่งที่ถูกกัดควรให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด โดยใช้ไม้กระดานหรือกระดาษแข็ง ๆ รองหรือดามไว้         
4. ควรจัดให้สัตว์ป่วยอยู่ในที่เงียบ และสงบ


หน้าฝนแบบนี้ สัตว์เลี้ยงของเราจะมีความเสี่ยงต่อการประสบกับสัตว์พิษต่าง ๆ ที่มากับฝนพรำ อาจทำให้สัตว์เลี้ยงของเราเจอพิษจากสัตว์พิษในรูปแบบต่าง ๆ แต่ในบรรดาสัตว์พิษที่อันตรายต่อสวัสดิภาพของสัตว์เลี้ยงของเรามากที่สุดนั้น  คงหนีไม่พ้น พิษงู นั่นเอง

ดังนั้น เราควรเฝ้าระวังและคอยสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงของเราอย่างใกล้ชิดด้วยนะคะ