แนวทางในการติดตามอาการผิดปกติของสัตว์ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดลำไส้

ในบางครั้ง ปัญหาของสัตว์ป่วยที่เกิดกับลำไส้อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อการรักษา ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่สัตว์กินสิ่งแปลกปลอมเข้าไปแล้วทะลุจากทางเดินอาหารเข้าสู่ช่องท้อง (โดยเฉพาะแมวที่ชอบกินของปลายแหลมๆ) ซึ่งความเสียหายนี้หากไม่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขอาจลุกลามไปสู่ปัญหาสุขภาพที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุที่สัตว์ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดลำไส้

การผ่าตัดลำไส้เล็กจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ

1. การผ่าเปิดลำไส้ หรือ enterotomy ซึ่งเป็นการเปิดเข้าสู่ช่องว่างในลำไส้เพื่อจะนำ foreign body ออก

    -  ผ่าเปิดออกฝั่ง antimesenteric border ให้กว้างพอที่จะนำ foreign body ออกได้โดยไม่ทำลายลำไส้

    - เย็บปิดด้วยวัสดุเย็บ monofilament absorbable suture ขนาด 4-0 (สำหรับสุนัขขนาดใหญ่ อาจเลือกใช้ 3-0 ได้)

2. การผ่าตัดบางส่วนของลำไส้ออก หรือ enterectomy ซึ่งจะตัดบางส่วนออกเมื่อพบว่า

   - ลำไส้เสียหายและดูไม่มีชีวิต (vitality)

   - มักจะเกิดจากภาวะ intussusception, volvulus, foreign body หรือ neoplasm ที่ทำลายเนื้อเยื่อลำไส้

   - ผูกมัดเส้นเลือดที่จะมาเลี้ยงลำไส้ส่วนที่จะตัดออกให้เรียบร้อยก่อน

   - การตัดต่อลำไส้ (anastomosis) หากปลายลำไส้ทั้ง 2 ข้างมีขนาดไม่เท่ากัน ให้เปิดด้าน antimesenteric border ของลำไส้ฝั่งที่เล็กกว่าให้เพียงพอที่จะเย็บต่อกับฝั่งลำไส้ที่ใหญ่กว่าได้

   - Submucosa ของลำไส้มีโอกาสที่จะม้วนตัวได้ง่าย สามารถตัด trim ลำไส้ส่วนที่ม้วนออกก่อนจะเย็บต่อได้

การติดตามอาการหลังผ่าตัดลำไส้

เนื่องจากระบบทางเดินอาหารคืออวัยวะที่รับอาหารจากภายนอกและขับออกจึงเป็นส่วนที่ปนเปื้อนเชื้อโรคต่างๆมากมาย ภายหลังการผ่าตัดลำไส้จึงมีโอกาสที่ intestinal content เล็ดลอดออกมาใน abdominal cavity แล้วทำให้เกิดปัญหาภายหลังได้ จึงแนะนำให้ทำการ lavage ด้วย warm saline ก่อนที่จะทำการเย็บปิดแผล โดยควรทำการติดตามอาการที่อาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงปัญหาคือ

     - Peritonitis

     - Hypotension

     - Disseminated intravascular coagulation

     - Pain

      - Leakage

ภาวะ Peritonitis สามารถพบได้ประมาณ 13-20% โดยจะพบว่าสัตว์มีภาวะ tachycardia, tachypnea, acute abdominal pain, hypoglycemia และ hyperthermia ซึ่งสามารถทำ abdominocentesis ตรวจหา bacteria เพื่อยืนยันได้

ส่วนในสัตว์ป่วยที่ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนและไม่พบอาการผิดปกติใด สามารถเริ่มให้อาหารสัตว์ป่วยได้ที่ 8 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด โดยแนะนำให้เลือกเป็น esophagostomy tube, gastrostomy, gastrojejunostomy หรือ jejunostomy แล้วแต่ความเหมาะสม

…………………………
บทความโดย : 
สพ.ญ.พิชญาภา ชมแก้ว
…………………………

เอกสารอ้างอิง

1. E. Monnet, How to perform a Safety Gastrointestinal Surgery, WSAVA 2015

2. Sandra Schallberger, DVM, FVH, Diplomate ACVS, & Bryden J. Stanley, BVMS, MACVSc, MVetSc, Diplomate ACVS, Small Intestinal Resection & Anastomosis, surgery, soft tissue, October 2010

..............................................

#เครื่องมือสัตวแพทย์​ #คลินิกสัตวแพทย์​ #โรงพยาบาลสัตว์​ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง​ #อุปกรณ์สัตวแพทย์​ #BEC​ #becvet​ #BECpremium  #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์ #สัตว์เลี้ยง #Polyglactine910  #Sacryl

Share this entry