แนวทางการสอดท่อให้อาหารเหลวทางสายยางแบบ Nasoesophageal (NE) และ Nasogastric (NG)Tube Placement ในสุนัขและแมว

รูปแบบการให้อาหารทางสายยางในสุนัขและแมวมีหลายประเภท เช่น nasoesophageal (NE), nasogastric (NG), esophagostomy, gastrostomy, หรือ enterostomy tube โดย NE และ NG เป็นวิธีการที่สามารถทำได้ด้วยงบประมาณที่ถูก ง่าย ว่องไวและไม่จำเป็นต้องวางยาสลบสัตว์ป่วย รวมทั้งสุนัขและแมวก็ไม่ค่อยต่อต้านด้วย เพราะท่อ NE และ NG ที่มีขนาดเล็ก ทั้งยังสามารถปล่อยให้สัตว์ป่วยกินอาหารด้วยตัวเองได้ด้วยระหว่างที่ยังสอดท่ออยู่ โดยท่อสามารถคาไว้ได้ทั้งเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจยาวนานหลายสัปดาห์ อีกทั้งยังไม่พบปัญหา reflux esophagitis ตามมาด้วย ซึ่งอาจจะเพราะท่อมีขนาดเล็กนั่นเอง

ท่อ feeding tube ขนาด Fr.5 และ Fr.6 ต้องใช้อาหารประเภท liquid enteral diet  สามารถให้ได้ทั้งแบบ constant-rate infusion (CRI) และ intermittent bolus  

การพิจารณารูปแบบการให้อาหารและการดูแล

การให้แบบ Bolus delivery

1. ใช้ไซริงค์ดูดย้อนกลับเพื่อตรวจสอบว่าอาหารที่ให้ไปมื้อที่แล้วยังเหลืออยู่หรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่า GI tract ยังทำงานได้ตามปกติ

2. หากสามารถดูดกลับมาได้มากกว่า 20% ของปริมาณที่ให้ในมื้อก่อนหน้า ควรพิจารณาให้ยากลุ่ม prokinetic drug และลดปริมาณอาหารที่ให้ต่อมื้อลง

3. อุ่นอาหารที่จะให้ทุกครั้ง โดยควรใกล้เคียงกับ body temperature ของสัตว์ป่วย

4. ค่อยๆให้ช้าๆในอัตราเร็วประมาณ 10-15 นาทีต่อมื้ออาหาร

5. หากสัตว์ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น vomit, hypersaliva หรือ abdominal distention ระหว่างที่กำลังให้อาหารทางสาย ให้ปรับลดการให้อาหารทั้งปริมาณ ความเร็วต่อมื้อและความถี่ลง

6. ระหว่างการให้อาหาร ควรให้น้ำสลับเพื่อไล่อาหารที่เหลือในสายและลดโอกาสการอุดตันได้ด้วย รวมทั้งปิดจุกสายด้วยการที่ให้มีน้ำคาอยู่ในสายด้วยก็จะช่วยได้อย่างดี

ปัญหาและข้อห้าม

1. ไม่แนะนำให้ทำในสัตว์ที่อยู่ในภาวะ comatose, laterally recumbent หรือ dyspneic รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มี gag reflex และ esophageal dysfunction (หรือ obstruction)

2. สัตว์ป่วยที่มีภาวะ thrombocytopenia หรือ coagulopathy ต้องระวังขณะสอดท่อมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเลือดออกจาก nasal bleeding

3. สัตว์ป่วยที่มีภาวะ vomit อาจจะยังสามารถสอดท่ออาหารผ่านทางจมูกได้ ซึ่งบางครั้งจะพบว่าการสอดท่อ NE และ NG tubes สามารถลดอาการ vomit ลงได้ด้ว

4.นอกจากนี้ยังมี complications อื่นที่รุนแรงที่มากจากการสอดท่อคือ epistaxis, hypersaliva, vomiting, diarrhea, dacryocystitis, tube obstruction หรือ แย่ที่สุดคือการสอดท่อเข้าไปผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ (inadvertent tube dislodgement)

วิธีตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งท่อ

เพื่อป้องกันไม่ให้พลาดสอดท่อเข้าไปผิดตำแหน่ง เช่น trachea, nasopharynx หรือ nasal cavity ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา aspiration pneumonia เมื่อเริ่มให้อาหารทางสาย

การตรวจสอบอาจจะใช้

1. Laryngoscope เปิดดูว่าท่อเข้าไปใน esophagus แน่นอน

2. Suction เพื่อทดสอบว่าเป็น negative pressure

3. Air infusion อัดอากาศในกระเพาะอาหาร แล้วใช้ stethoscope ฟังเสียงจาก abdomen เพื่อหา borborygmus

4. Infusion of sterile saline หรือ nonionic contrast medium ซึ่งหากสอดผิดเข้าไปใน trachea จะพบว่าสัตว์ไอออกมาเล็กน้อย

5. Fluid aspirate ดูดกลับเพื่อทดสอบ pH ที่ได้จากกระเพาะอาหาร (แตกต่างจาก trachea)

อุปกรณ์และยาที่ต้องใช้ 

1.Sedative โดยอาจจะร่วมกับ analgesic (เช่น opioid) และ local anesthetic

2. 0.5% proparacaine hydrochloride หรือ 2% lidocaine hydrochloride solution

3.Water-based lubricant หรือ 2% lidocaine gel

4. Fr.5, 6 หรือ 8 ของ radiopaque polyurethane หรือ silicone elastomer tube

5. ปากกา marker สำหรับระบุตำแหน่งที่ผิวหนัง

6. นีโอเทปขนาด 1 นิ้ว

7. Skin stapler หรือ 3-0 nylon suture สำหรับเย็บท่อติดกับผิวหนัง

8. ไซริงค์ขนาด 5-6 ml

9. Sterile saline ประมาณ 3-5 ml

10. Elizabethan collar

11. Nonionic radiographic contrast medium เช่น iohexol หรือ ใช้อุปกรณ์วัด end-tidal carbon-dioxide monitor

การวางแผนให้อาหารทางสาย 

1. คำนวนจาก resting energy requirement (RER) จากน้ำหนักปัจจุบันของสัตว์ป่วยหรือน้ำหนักตามสายพันธุ์(กรณีอ้วน)

   - RER* (kcal/day) = 70 x [body weight (kg)]

   - *สามารถปรับปริมาณ RER ที่คำนวนได้ให้เหมาะสมตาม underlying disease ของสัตว์ป่วย

   - *รวมทั้งสามารถให้ปริมาณคูณ 1.25 เท่าของที่คำนวนได้ เพื่อให้ได้ปริมาณ calories ตามความต้องการของสัตว์ที่เพิ่มขึ้น

2. หากสัตว์ป่วยไม่ทานอาหารเองเลยและไม่ได้มีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดด้วย ต้องคำนวนปริมาณ fluid requirements เพิ่มเข้าไปด้วย

   - Daily water intake ตามสูตรเดียวกับ RER เป็นหน่วย ml

3. เริ่มให้จาก 1ใน4 หรือ 1ใน3 ของปริมาณ RER ที่คำนวนได้ในวันที่1 โดยอาจให้ต่อเนื่องแบบ CRI หรือ แบ่งให้แบบ Bolus 6-8 ครั้งใน 1 วัน

  - หากสัตว์ป่วยมีโอกาศที่จะเป็น refeeding syndrome (การได้รับสารอาหารจำนวนมากอย่างรวดเร็วหลังจากอดอาหารมานาน ทำให้เกิดการบวมน้ำที่อวัยวะส่วนปลาย) ซึ่งสามารถตามอาการได้ด้วยการตรวจ electrolytes หลังจากเริ่มให้อาหารมื้อแรกไป 24 ชั่วโมง

4. ค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหาร รวมทั้งค่อยๆลดความถี่ของการให้อาหารลง จนสัตว์ป่วยได้รับอาหารตามที่ต้องการภายในครั้งที่ 3-4 ครั้งของการให้อาหารแบบ Bolus หรือหากใช้การให้อาหารแบบ CRI ภายในวันที่ 3-4

…………………………
บทความโดย : 
สพ.ญ.พิชญาภา ชมแก้ว
…………………………

เอกสารอ้างอิง

https://files.brief.vet/migration/article/16211/nasoesophageal-tubes-16211-article.pdf

..............................................

#เครื่องมือสัตวแพทย์​ #คลินิกสัตวแพทย์​ #โรงพยาบาลสัตว์​ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง​ #อุปกรณ์สัตวแพทย์​ #BEC​ #becvet​ #BECpremium  #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์ #สัตว์เลี้ยง #Polyglactine910  #Sacryl

Share this entry