Orthopaedics and Pet Cares after tooth extraction

การผ่าตัดถอนฟันเป็นการทำศัลยกรรมในช่องปากสุนัขและแมวที่พบได้บ่อย แต่มักสร้างความยุ่งยากให้แก่สัตวแพทย์เพราะ

      - ขั้นตอนการรักษามีความยุ่งยาก โดยเฉพาะการผ่าตัดในสุนัขสายพันธุ์ขนาดใหญ่เพราะฟันมีขนาดใหญ่และมีรากที่ฝังลึก

      - ฟันที่พิจารณาว่าจะต้องถอนออกจะมาพร้อมกับอาการผิดปกติที่ส่งผลต่อแผนการผ่าตัดด้วย ทำให้การทำงานยุ่งยากยิ่งขึ้น

      - ค่าใช้จ่ายที่สามารถเรียกเก็บได้มักต่ำกว่าที่ควร เพราะแต่เดิมการถอนฟันจะถูกใช้ในฟันที่โยกคลอนและเกือบจะหลุดออกง่ายอยู่แล้ว

      - เจ้าของสัตว์มักเข้าใจว่าสัตว์เลี้ยงมีฟันเหมือนตนเอง แต่จริงๆแล้วแตกต่างและมีความยุ่งยากในการถอนมากกว่า

      - สัตว์เลี้ยงมักไม่ค่อยแสดงความเจ็บปวด ทำให้เจ้าของลังเลที่จ่ายเงินเพื่อการรักษาที่ดูเหมือนจะยังไม่จำเป็น

ขั้นตอนที่ 1 คุยกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงให้เข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็น

          เพราะฟันของสุนัขและแมวจะมีราก (root) ที่ยาวกว่าตัวฟัน (crown) 2-3 เท่าตัว ซึ่งอัตราส่วนนี้จะเหมือนกันทั้งในฟันแท้และฟันน้ำนม ซึ่งจะแตกต่างจากฟันของมนุษย์ การให้ข้อมูลเรื่องความแตกต่างนี้จะช่วยให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงเข้าใจถึงความยุ่งยากในการผ่าตัดและเหตุผลของค่าใช้จ่าย โดยอาจจะใช้ฟันจริงหรือภาพฉายรังสีประกอบการอธิบายจะช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น รวมทั้ง การคิดค่าบริการตามระยะเวลาที่ใช้ผ่าตัดจะช่วยให้สมเหตุสมผลต่อการแจ้งค่าใช้จ่ายกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่สัมพันธ์กับความยากของการผ่าตัดมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่2  จัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม

เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่นๆ การใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมจะช่วยอำนวยความสะดวกให้การผ่าตัดสมบูรณ์แบบมากขึ้น

            - Elevators อุปกรณ์เดิมอาจจะทื่อและทำให้การถอนฟัต้องใช้เวลาที่นานขึ้น รวมทั้งสร้างความเสียหายได้

            - Burs สำหรับฟันที่มีรากมากกว่าหนึ่ง การใช้ Carbide burs ด้วย High speed จะช่วยแบ่งฟันและรากออกเป็น segment ย่อยและถอนออกได้ง่ายขึ้น (cross-cut taper fissure burs) และแนะนำให้เปลี่ยน burs ทุกครั้งต่อสัตว์แต่ละตัว 

ขั้นตอนที่3  ฝึกใช้อุปกรณ์ให้ชำนาญ

          เป็นขั้นตอนที่จะช่วยทั้งให้สัตวแพทย์ได้ฝึกฝนเพื่อสวัสดิภาพสัตว์และความสามารถในการผ่าตัดไปพร้อมกัน เพราะตอนเรียนอาจมีโอกาสฝึกน้อย หรือ วิชาที่เรียนอาจล้าสมัยไป ทำให้ความเชี่ยวชาญที่มีต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเทียบกับเทคนิกการผ่าตัดในปัจจุบัน

         การผ่าตัดถอนฟันเป็นการผ่าตัดที่ต้องการความสามารถสูงและต้องใช้ความอดทน เพราะหากมีการใช้แรงที่มากเกินไปอาจทำให้ปัญหาเปลี่ยนจาก Periodontal ligament เป็นฟันหรือกระดูกกรามแทนได้ ทำให้เกิดปัญหากระดูกแตกแทนที่จะแก้ไขแค่ปัญหาของฟันโยก

ขั้นตอนที่4  การฉายภาพรังสีทั้งก่อนและหลังการทำทันตกรรม

         การฉายภาพรังสีก่อนที่จะทำการผ่าตัด จะช่วยให้สัตวแพทย์สามารถมองเห็นปัญหาและวางแผนการผ่าตัดได้อย่างรอบคอบเหมาะสม เพราะบางครั้งตำแหน่งหรือความผิดปกติของตัวฟันและรากฟันที่อยู่ในตำแหน่งที่มองไม่เห็น ก็อาจจะเป็นสาเหตุให้การผ่าตัดยุ่งยากกว่าที่คาดการณ์ไว้

        โดยการฉายภาพรังสีเพื่อวางแผนก่อนผ่าตัดจะทำให้เราพบปัญหาที่สำคัญ เช่น

              - Ankylosed Roots พบได้บ่อยในแมวที่มีปัญหา tooth resorption และในสุนัขที่อายุมาก

              -  Weakened Bone พบได้บ่อยตรงตำแหน่ง mandibular canine teeth และ first molar teeth ของสุนัขสายพันธุ์เล็กและพันธุ์ toy โดยจะพบการหายไปของ alveolar bone ทำให้มีโอกาสเกิด iatrogenic mandibular fracture ขณะที่สัตวแพทย์กำลังทำการถอนฟันตามปกติ

               - Curved Roots พบได้บ่อยที่ first molar teeth ทั้งmaxilla และ mandible ของสุนัขสายพันธุ์เล็กและพันธุ์ toy การฉายรังสีจะให้ข้อมูลสัตวแพทย์ต้องระวังการ แตกหักของรากฟันในขณะที่พยายามจะถอนออก

              - Extra Roots หรือเรียกว่า supranumary roots ซึ่งสามารถพบได้เกือบทุกชนิดฟัน แต่จะพบได้บ่อยที่สุดที่ maxillary 3rd premolar ในแมว (จะพบถึง 10% ของเคสที่ทำการถอนฟัน) ซึ่งการฉาพภาพรังสีจะให้ข้อมูลนี้กับสัตวแพทย์เพื่อหาทางป้องกันการแตกของรากฟัน หรือ การคงค้างของรากฟัน

 

           ส่วนการฉาพภาพรังสีภายหลังการผ่าตัด จะเป็นการตรวจสอบว่าฟันได้ถูกถอนออกจนหมดแล้ว อ้างอิงจากการรายงานทางสัตวแพทย์พบว่า 92% ของการถอนฟัน carnassial teeth จะเหลือรากฟันคงค้างไว้ภายหลังการพยายามถอนออก ดังนั้น การฉายรังสีจะช่วยป้องกันปัญหาการคงเหลือนี้ได้ รวมทั้งปัญหาอื่นๆ เช่น
 

             - ช่วยให้เราเห็นพื้นที่เล็กๆของรากฟันที่อาจจะถูกมองข้ามไปตอนกำลังผ่าตัด

             - หลังจากรักษาฝีในช่องปากแล้วฉาพรังสีอีกครั้ง อาจพบว่าฝีนั้นเกิดจากสิ่งแปลกปลอมที่ไม่เกี่ยวข้องกับรากฟันเลยก็เป็นได้(เมื่อเทียบกับภาพฉายรังสีก่อนการผ่าตัด)

            - เป็นหลักฐานประกอบในการแจ้งกับเจ้าของสัตว์ว่าการผ่าตัดทำให้เกิดอะไรขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของเขาบ้าง

ขั้นตอนที่ 5 การจัดการความเจ็บปวด และการดูแลหลังถอนฟัน

         การถอนฟันเป็นการผ่าตัดที่ก่อให้เกิดควเจ็บปวดทั้งขณะและหลังผ่าตัด สัตวแพทย์ควรจะเตรียมป้องกันและจ่ายยาบรรเทาความเจ็บปวดให้สัตว์เลี้ยงด้วยทุกครั้ง

        - Regional (local) anesthesia การระงับความเจ็บปวดเฉพาะจุดควรทำทุกครั้งที่จะถอนฟัน และเป็นการเหมาะสมที่สัตวแพทย์จะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายแยกออกมาจากค่าถอนฟันปกติ และแจ้งแก่เจ้าของให้ทราบว่าเป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นเพื่อช่วยลดความทรมาณของสัตว์เลี้ยงทั้งระหว่างและหลังผ่าตัด

       - Pain medication ควรให้ยาอย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังการผ่าตัด โดยในสุนัขให้ยาร่วมกันระหว่าง NSAIDs(meloxicam; Metacam) และ Tramadol และในแมวที่มี renal function และ Blood pressure ปกติ ก็สามารถให้ one dose of meloxicam ต่อด้วย oral buprenorphine 7 วันหลังผ่าตัดได้

       - Antibiotic เป็นสิ่งที่ต้องให้แก่สัตว์เลี้ยงเสมอ และ Probiotics มีแนะนำให้ด้วยเพื่อป้องกันปัญหา gastrointestinal upset

       - High-calorie soft food หรือ liquid diet เป็นอาหารที่ควรถูกจัดเข้ามาให้เสริมแก่สัตว์เลี้ยงที่กินอาหารได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นภายหลังการผ่าตัด

       - การใช้ผลิตภัณฑ์เฉพาะที่ เช่น Collagen supporting gel จะช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อและช่วยให้การหายของแผลไวยิ่งขึ้น

............................................

เอกสารประกอบ

Brook A. Niemiec, DVM, FAVD, Diploma AVDC : Dental Extractions: Five Steps to Improve Client Education, Surgical Procedures, & Patient Care; https://todaysveterinarypractice.com/practical-dentistry-dental-extractions/

Dental Spon ของ SMI ไว้ตอนท้ายนะคะ//ใส่ข้อความโฆษณาข้างๆสินค้าว่า Pure Collagen สำหรับห้ามเลือดในโพรงฟันที่เลือดออกจากการถอนฟันและสามารถย่อยสลายได้เองใน 4 สัปดาห์

............................................

บทความโดย : สพ.ญ.พิชญาภา  ชมแก้ว

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ #ทำฟันสัตว์เลี้ยง #อุปกรณ์ทำฟันสำหรับสัตว์

Share this entry