Feline parvovirus

โรคไข้หัดแมวนี้จะรุนแรงมากในแมวอายุน้อย โดยมีอาการที่สำคัญที่พบคือ มีไข้สูง อาเจียน ท้องเสีย ระยะการฟักตัวของโรค 2-7 วัน โดยแมวอายุน้อยส่วนใหญ่ตายอย่างรวดเร็ว ลูกแมวหรือแมวที่ติดเชื้อไข้หัดแมวจะแสดงอาการต่าง ๆ หลายรูปแบบ มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าไข้หัดแมวเกิดจากอะไรและควรดูแลน้องเหมียวด้วยวิธีไหน

 

 

โรคไข้หัดแมวคืออะไร 

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Feline parvovirus มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของแมว และเมื่อตรวจเลือดมักพบเม็ดเลือดขาวต่ำ จึงเรียกว่าโรค Feline panleukopenia

 

อาการของไข้หัดแมว

โรคนี้มีระยะการฟักตัวของโรค 2-7 วัน โดยแมวอายุน้อยส่วนใหญ่ตายอย่างรวดเร็ว ลูกแมวหรือแมวที่ติดเชื้อไข้หัดแมวจะแสดงอาการต่างๆ หลายรูปแบบ อาการที่ต้องเฝ้าระวัง

 

อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้

แมวที่รอดชีวิตมาได้ช่วง 2-3 วันแรกจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ และทำงานได้ไม่ดี ซึ่งเกิดจากไวรัสที่ทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ และอาจทำให้แมวติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อ หากแมวติดเชื้อขณะตั้งท้อง แม่แมวอาจจะแท้ง ลูกแมวเสียชีวิต หรือลูกแมวเกิดมาพร้อมพัฒนาการสมองที่ผิดปกติ (สมองไม่เจริญเติบโต)ในกระแสเลือด

 

การวินิจฉัย

เมื่อสังเกตว่าน้องแมวมีอาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ ซึ่งสัตวแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย ดังนี้

 

ตรวจหาเชื้อไวรัส โดยเบื้องต้นคุณหมอมักจะทำการตรวจโดยใช้ชุดตรวจ Testkit ซึ่งเป็นการตรวจหาเชื้อจากอุจจาระ โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น

การแปลผลการทดสอบ

ผลบวก :ปรากฎแถบสีในแถบควบคุม (Con) และแถบทดสอบที่จำเพาะกับ CPV (FPV) และ/หรือ CCV

ผลลบ :ปรากฎแถบสีเฉพาะในแถบควบคุม (Con) แต่แถบทดสอบที่จำเพาะกับ CPV (FPV) และ/หรือ CCV ไม่ปรากฎแถบสีใด ๆ

แปลผลไม่ได้ :ไม่ปรากฏแถบสีที่ตำแหน่งแถบควบคุม (Con) ซึ่งควรจะต้องเกิดขึ้นทุกครั้ง ควรทำการทดสอบซ้ำใหม่

 

การรักษา

การรักษาโรคไวรัส จะเป็นการรักษาตามอาการ ให้สารน้ำและป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน โดยในปัจจุบันมีการให้ยาในกลุ่ม Interferon แบบฉีดในปริมาณสูงเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัส
ร่วมกับการรักษาตามอาการ ซึ่งพบว่าหากฉีดInterferon ในแมวที่แสดงอาการป่วยไปแล้ว จะเพิ่มอัตรารอดได้ประมาณ 10-20% เมื่อเทียบกับการรักษาตามอาการแบบเดิมเพียงอย่างเดียว และพบว่าถ้าเริ่มฉีด Interferon ในน้องแมวที่ได้รับเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ จะช่วยเพิ่มอัตรารอดได้ค่อนข้างสูงประมาณ 80-90% เลยทีเดียว แต่ข้อเสียของ Interferon แบบฉีดคือ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงมาก

วิธีป้องกันโรค

1.สามารถฉีดวัคซีนให้กับน้องแมวได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ ขึ้นไป

2.ฉีดซ้ำทุก 2-3 สัปดาห์ จนกว่าน้องแมวจะอายุครบ 16 สัปดาห์ ขึ้นไป และทำการกระตุ้นวัคซีนทุก 1 ปี

3.ผู้เลี้ยงไม่ควรสัมผัสแมวป่วยนอกบ้าน หากสัมผัสมาก็ควรล้างมือให้สะอาดก่อนจะจับแมวของตัวเอง

4.ไม่ควรปล่อยน้องแมวออกนอกบ้าน เพื่อลดการติดเชื้อจากแมว นอกบ้านซึ่งอาจเป็นพาหะของโรค

5.ถ้ามีสมาชิกน้องเหมียวตัวใหม่เข้าบ้าน ควรแยกเลี้ยงอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อสังเกตอาการว่ามีโรคไข้หัดแมวติดมาด้วยหรือเปล่า

 

 

เนื่องจาก FPV สามารถติดเชื้อและเป็นอันตรายถึงชีวิต คุณจำเป็นต้องแน่ใจว่าลูกแมวของคุณได้รับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมในช่วงอายุที่เหมาะสม และตามด้วยการฉีดวัคซีนกระตุ้นประจำปี หากคุณไม่แน่ใจเรื่องโปรแกรมการฉีดวัคซีนของลูกแมว ควรปรึกษาสัตวแพทย์

 

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

...................................

Share this entry