The Efficacy of Krill Oil On Dog

น้ำมันคริลล์


เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากตัวคริลล์เป็นสัตว์ทะเลขนาดจิ๋วในกลุ่มเดียวกับกุ้ง ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งใน Krill oil ก็จะประกอบไปด้วย

 

Omega-3 fatty acids (EPA & DHA) 

ที่อยู่ในรูปที่จับกับสาร phospholipids  ซึ่งข้อดีของ omega-3 ที่อยู่ในรูปนี้ คือสามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า omega-3 ที่อยู่ในรูปแบบอื่น รวมทั้งสามารถละลายน้ำได้ดีกว่า จึงถูกดูดซึมไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี

Astaxanthin 

เป็นสารสีแดงในกลุ่ม keto-carotenoid ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant activity) สูงกว่าวิตามินซีถึง 6,000 เท่า และสูงกว่าวิตามินอีประมาณ 500 เท่า  ด้วยส่วนประกอบดังกล่าว krill oil จึงมีคุณสมบัติที่ดีที่สามารถนำมาใช้ในทางสัตวแพทย์ได้ ดังนั้น

    - Atopy and pruritus
    - Cardiac Supplements for CHF, valvular disease, arrhythmia 
    - Osteoarthritis (OA)

 

 

จากผลในการลดการอักเสบ (anti-inflammation) ของ omega-3

การศึกษาประสิทธิภาพของ น้ำมันกุ้งคริลล์ต่อสุนัขที่มีภาวะขาหลังกะเผลกอันเกิดจากความผิดปกติของข้อเข่า งานวิจัยของนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์

จากการศึกษาประสิทธิภาพของน้ำมันกุ้งคริลล์ต่อสุนัขที่มีภาวะขาหลังกะเผลกอันเกิดจากความผิดปกติของข้อต่อเพื่อลดการใช้ยาในกลุ่ม Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs (NSAIDs) ในสุนัข โดยใช้ค่า parameter ในการประเมิน ได้แก่ Weight bearing,  Range of motion และ Lameness Score โดยคัดเลือกสุนัขที่มีภาวะขาหลังกะเผลกจำนวน 8 ตัว โดยสุนัขทุกตัวต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ต้องการศึกษา

ทำการทดลองโดยให้น้ำมัน กุ้งคริลล์ในสุนัขกลุ่มทดลอง

ทดลองโดยให้น้ำมันกุ้งคริลล์ปริมาณ 1 เจลแคปซูลในสุนัขน้ำหนักน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 กิโลกรัม วันละ 1 คร้ัง หลังอาหารเย็นโดยให้นานเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ และทำการประเมินค่า Weight bearing,  Range of motion และ Lameness Score เปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษา

 

การทดลองจะมีการทดสอบความสามารถในการลงน้ำหนักของสุนัข

ใดยใช้อุปกรณ์ sensor มาติดที่บริเวณใต้เท้าของสุนัข เพื่อวัดการลงน้ำหนักของขา (Weight bearing) ซึ่งพบว่าการลงน้ำหนักสุนัขในขาที่เจ็บ ไม่แย่ลงกว่าเดิม และในบางตัวสามารถลงน้ำหนักได้ดีขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างของ Range of motion และ Lameness Score ก่อนและหลังการทดลอง

 

 

ถึงแม้ว่า Krill oil อาจจะไม่ใช่ตัวยาหลักในการรักษา medial patellar luxation แต่ก็พบว่ามีส่วนช่วยให้สุนัขสามารถลงน้ำหนักที่ขาได้ดีขึ้น และพบว่าสุนัขสามารถเดินและเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น โดยในการทดลองมีการตรวจสอบค่าต่างๆในเลือด (blood chemistry) และโลหิตวิทยา (hematology) ก็ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจสามารถใช้ Krill oil เป็นทางเลือกเพื่อประกอบการรักษาในระยะยาวได้

 

#BEC  #becvet #เครื่องมือสัตวแพทย์  #อุปกรณ์สัตวแพทย์ 

...................................

Share this entry