Smart management for urethral obstruction in dog and cats before surgery

10 ประเด็นสำคัญจาก Webinar Ep.6
“การจัดการภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะในสุนัขและแมวก่อนการผ่าตัด”
1. อัตราการเกิดโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในสุนัข และแมวอยู่ที่ประมาณ 2%
จากสถิติทั่วโลกพบว่าสุนัขประมาณ 2-3% มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โดยการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ (urinary tract infection) เป็นโรคที่พบได้มากที่สุด ส่วนในแมวพบปัญหาทางเดินปัสสาวะส่วนล่างประมาณ 1.5 - 2.2 % โดยโรคที่พบได้บ่อยที่สุด คือ feline idiopathic cystitis (FIC)
2. สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะ Urethral obstruction ในสุนัข ได้แก่ นิ่ว และในแมว ได้แก่ FIC
ภาวะ urethral obstruction ในสุนัขและแมวสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิด urethral obstruction ในสุนัขมากที่สุด ได้แก่ โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ (urolithiasis) ซึ่งมีอัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 20.31 % ในขณะที่การเกิด urethral obstruction ในแมวมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก FIC (57.7%) ซึ่งควรวินิจฉัยแยกโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะออกเสียก่อน
3. การถ่ายภาพ x-ray เพื่อวินิจฉัยภาวะ Urethral obstruction ควรถ่ายให้ติดทั้งระบบทางเดินปัสสาวะ และควรถ่าย 2 ท่า
ตำแหน่งการเอกซเรย์ คือตั้งแต่บริเวณไต (T13 - L2) ถึงช่วงท้ายของลำตัวและควรถ่ายทั้งท่า lateral และ VD โดยในท่า VD ควรทำการเบี่ยงหางออกจากแกนกลางลำตัวเพื่อไม่ให้เกิดภาพทับซ้อนกับนิ่วในตำแหน่ง pelvic urethra
4. การทำ Urethrocystogram สามารถช่วยวินิจฉัยภาวะ Urethral obstruction ได้
สัตว์ป่วยที่สงสัยภาวะ urethral obstruction แต่ไม่เห็นความผิดปกติจากการเอกซเรย์ธรรมดา ควรทำการเอกซเรย์โดยมีการฉีดสารทึบรังสีเข้าท่อปัสสาวะ (urethrocystogram) ซึ่งขณะเตรียมอุปกรณ์ และทำหัตถการควรระวังไม่ให้มีฟองอากาศเข้าภายในท่อ เพราะอาจรบกวนการแปลผลภาพรังสีวินิจฉัยได้ วิธีการแยกสิ่งที่เห็นในภาพเอกซเรย์ว่าเป็นฟองอากาศหรือไม่นั้น ทำได้โดยดูตำแหน่งที่สงสัยเปรียบเทียบกับตำแหน่งที่เกิด urethral obstruction ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ หรืออาจทำการเอกซเรย์ซ้ำโดยฟองอากาศมักเปลี่ยนตำแหน่ง และลอยอยู่กลาง urethra ในท่า lateral view (ก้อนนิ่วมักจะอยู่ชิดกับผนังurethra)
5. Retrograde Urohydropropulsion และ Voiding Urohydropropulsion เป็นหัตถการที่ทำเพื่อจัดการภาวะ urethral obstruction ในสุนัข
การทำหัตถการทั้ง 2 วิธี ควรวางยาสลบ เพื่อให้กล้ามเนื้อของท่อคลายตัว ซึ่งจะทำให้นิ่วเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น
6. การเลือกขนาดของท่อสวนปัสสาวะในสุนัข จะขึ้นอยู่กับขนาด และเพศของสุนัข ส่วนในแมวนิยมใช้ขนาด 3 – 3.5 Fr เพื่อลดภาวะ Urethral obstruction หลังถอดท่อ
7. การสวนท่อปัสสาวะในแมว ควรวางยาซึมหรือยาสลบ
การวางยาซึมหรือยาสลบช่วยลดความเครียด และความเจ็บปวด ทำให้กล้ามเนื้อของท่อปัสสาวะคลายตัว ส่งผลให้การสอดท่อสวนทำได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ควรทำ decompressive cystocentesis เพื่อลดแรงต้านในการสวนท่อปัสสาวะ
***ในกรณีที่แมวมีภาวะ Bradycardia, hypotension หรือ hypovolemia ควรแก้ไขภาวะดังกล่าวก่อนการวางยาสลบ***
8. การแก้ไขภาวะ Urethral obstruction ด้วยการล้างท่อปัสสาวะ (Flushing) ต้องอาศัยแรงดันของน้ำ ห้ามใช้ปลายท่อดัน
การล้างท่อปัสสาวะ ต้องทำด้วยวิธี Aseptic technique และควรใช้ไซริงค์ขนาดเล็ก flush เป็นจังหวะ เพื่อให้เกิดแรงดันตะกอน/นิ่ว ห้ามใช้ปลายท่อดัน เพราะมีโอกาสที่ปลายท่อจะขัดกับนิ่วแล้วทำให้ติดในท่อปัสสาวะได้
9. 46% ของแมวเกิดภาวะ Post obstructive diuresis (POD) ภายหลังการจัดการภาวะ Urethral obstruction
ภาวะ Post Obstructive Diuresis (POD) คือ ภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะมากผิดปกติ (UOP > 2 ml/kg/h) มักเกิดภายใน 2–3 ชม.หลังการแก้ไขภาวะ urethral obstruction และอาจคงอยู่นานมากกว่า 84 ชั่วโมง ซึ่งภาวะนี้เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะ hypovolemia ร่วมกับภาวะ hypokalemia ตามมาได้ การจัดการภาวะนี้สามารถทำได้โดย การเสริม potassium และการให้สารน้ำโดยคำนวนตาม ins – outs method
10. การให้สารน้ำในแมวที่เกิด urethral obstruction ควรทำการอัลตราซาวด์ติดตามภาวะ fluid overload อย่างใกล้ชิด
ขนาดของ Caudal Vena Cava (CVC) ในภาพอัลตราซาวด์ สามารถใช้ประเมินภาวะ fluid overload ได้ โดยแมวที่อยู่ในภาวะ euvolemia ขนาดของ CVC จะมีความแตกต่างกันอย่างน้อย 20% ในขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก ส่วนแมวที่มีภาวะ fluid overload มักพบว่า CVC จะมีขนาดใหญ่โดยขนาดไม่แตกต่างกันในขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก และมีความสัมพันธ์กับขนาดของ Left atrial
การติดตามภาวะ fluid overload ยังสามารถอัลตราซาวด์ในตำแหน่งอื่นๆได้ เช่น Left ventricular lumen size & wall thickness, Cavitary effusion, B-lines in the lung, Gallbladder oedema
...................
ขอขอบคุณข้อมูล และรูปภาพจากเอกสารประกอบงานสัมมนา Webinar EP.6 “การจัดการภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะในสุนัขและแมวก่อนการผ่าตัด” โดย น.สพ. โอสธี เดชกัลยา นายสัตวแพทย์ประจำหน่วยโรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
....................
รับชมสัมนาออนไลน์ ย้อนหลัง
หัวข้อ EP6 : “ Smart management for urethral obstruction in dog and cats before surgery (การจัดการภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะในสุนัขและแมวก่อนการผ่าตัด )
ติดต่อสอบถามผู้แทนฝ่ายขายประจำเขตของท่านได้ที่
https://drive.google.com/file/d/1tfntGTIZTUesZUrnmZbhtUi9Ejz-KLuN/view?usp=sharing
..................
สรุปใจความสำคัญโดย
สพ.ญ.อภิลักษณ์ มหัธนันท์
..................
#เครื่องมือสัตวแพทย์ #คลินิกสัตวแพทย์ #โรงพยาบาลสัตว์ #อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง #อุปกรณ์สัตวแพทย์ #BEC #becvet #BECpremium #ครบจบที่BEC #การจัดการภาวะอุดตันทางเดินปัสสาวะในสุนัขและแมวก่อนการผ่าตัด