Feline panleukopenia virus and Feline hemoplasmosis

10 ประเด็นสำคัญจากสัมมนา Updateโรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว

1. Feline Panleukopenia Virus (FPV) หรือ โรคหัดแมว เป็นโรคติดต่อที่อันตรายในแมว 

FPV เป็นโรคที่อัตราการเสียชีวิตสูงถึง 30 – 50% และการระบาดของโรคนี้เกิดได้ง่าย เนื่องจาก FPV เป็นเชื้อไวรัสที่ทนทานในสิ่งแวดล้อม ประกอบกับแมวที่ติดเชื้อบางตัวสามารถปล่อยเชื้อโดยไม่แสดงอาการ และมีรายงานว่า แมวที่หายจากโรคสามารถแพร่เชื้อต่อเนื่องได้นานถึง 6 สัปดาห์

2.  แมวสามารถติดเชื้อ Canine Parvovirus ได้

เชื้อ CPV เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อ FPV  ทำให้แมวสามารถติดเชื้อ CPV-2a, CPV-2b, CPV-2c ได้

3. ลูกแมวสามารถติดเชื้อ FPV ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ได้

เชื้อสามารถติดจากแม่แมวสู่ลูกขณะตั้งท้อง หรือขณะคลอดได้ ส่งผลให้เกิดภาวะแท้ง หรือหากลูกสัตว์รอดชีวิต อาจมีภาวะ Cerebellar hypoplasia หรือภูมิคุ้มกันบกพร่องได้

4. ผลลบจากการตรวจโรค FPV ด้วย Test kit ไม่สามารถบอกว่าแมวไม่ติดเชื้อ

การตรวจ FPV ด้วย Test kit สามารถพบ False negative ได้ เนื่องจากเชื้อไม่ถูกปล่อยออกมาในอุจจาระช่วงเก็บตัวอย่าง ดังนั้นหากแมวแสดงอาการแต่ผลทดสอบเป็นลบ แนะนำตรวจยืนยันด้วย PCR

5. สิ่งสำคัญในการรักษา FPV คือ การให้สารน้ำ

อาการหลักจากการติดเชื้อ FPV คืออาเจียน ท้องเสีย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง จนเกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ ดังนั้นการให้สารน้ำที่ถูกวิธีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ส่วนการรักษาอื่นๆประกอบด้วยการให้ยาตามอาการ การจัดการด้านอาหาร รวมถึงการให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อ หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

6. แมวมีภาวะ Anemia อย่าลืมนึกถึงโรค Hemoplasmosis

เชื้อที่ก่อโรคจะทำลายเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้เกิดภาวะ hemolytic anemiaได้ ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อ

7. โรค Hemoplasmosis เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ในแมวมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Mycoplasma haemofelis (Mhf), Candidatus Mycoplasma haemominutum (Mhm) และ Candidatus Mycoplasma turicensis (Mtc) โดยเชื้อที่ก่อโรครุนแรงที่สุดคือ Mycoplasma haemofelis (Mhf)

8. การติดต่อของโรค Hemoplasmosis ไม่ใช่แค่จากหมัด

งานวิจัยในปีค.ศ.2012 พบว่าในแมวที่มีเชื้อทั้งหมด มีเพียง 11%ที่เชื้อในเลือดของแมว และหมัดเป็นสายพันธุ์เดียวกัน จึงสันนิษฐานว่าเชื้อมีการติดต่อทางเลือดจากช่องทางอื่น โดยอาจติดต่อผ่านการกัดกัน หรือการให้เลือด ดังนั้นแมวที่จะเป็น Donor ควรได้รับการตรวจโรคนี้

9. อาการของโรค Hemoplasmosis ไม่จำเพาะ การวินิจฉัยโรคทำได้โดย PCR

อาการที่พบได้ คือ ซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร ขาดน้ำ น้ำหนักลด การตรวจวินิจฉัยด้วย Blood smear มีความไว และความจำเพาะต่ำ จึงควรใช้ PCR ในการวินิจฉัยโรค

10. เป้าหมายของการรักษาโรค Hemoplasmosis คือทำให้อาการของโรคหายไป

ปัจจุบันยังไม่มียาที่ฆ่าเชื้อ  Hemoplasma ได้ 100% ดังนั้นจึงแนะนำให้ยาปฏิชีวนะเฉพาะในรายที่มีภาวะโลหิตจาง ยาที่มีรายงานการใช้คือ Doxycycline และยาในกลุ่ม Fluoroquinolones ได้แก่ Marbofloxacin และ Pradofloxacin

....................
รับชมสัมนาออนไลน์ ย้อนหลัง

หัวข้อ EP5 : “ Updateโรคติดเชื้อที่สำคัญในแมว "(Feline panleukopenia virus และ Feline hemoplasmosis)

ติดต่อสอบถามผู้แทนฝ่ายขายประจำเขตของท่านได้ที่

https://shorturl.asia/2YKkm

 

...................

บทความโดย

สพ.ญ.อภิลักษณ์  มหัธนันท์
..................
#เครื่องมือสัตวแพทย์#คลินิกสัตวแพทย์#โรงพยาบาลสัตว์#อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์#BEC#becvet#BECpremium
#ครบจบที่BEC #ไข้หัดแมว #FPV