Techniques in small animal wound management

1. กระบวนการหายของแผลในแต่ละช่วงมีเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักแตกต่างกัน

การเลือกวิธีการรักษาที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของเซลล์ในแต่ละช่วงอย่างเหมาะสม จะส่งเสริมให้กระบวนการหายของแผลเกิดได้ดียิ่งขึ้น

2. แมวแผลหายช้ากว่าสุนัข

บริเวณผิวหนังของแมวมีแส้นเลือดไปเลี้ยงน้อยกว่า ต้องอาศัยเลือดจากชั้นกล้ามเนื้อผ่านไปทางชั้นไขมันใต้ผิวหนัง

- ในกรณีที่แมวสูญเสียไขมันใต้ผิวหนังมาก จะส่งผลให้แผลยิ่งหายช้า

3. ประเมินสัญญาณชีพของสัตว์ป่วยก่อนประเมินบาดแผล 

สัตว์ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนใหญ่จะมาในภาวะฉุกเฉิน ต้องประเมินสัญญาณชีพก่อนทุกครั้ง หลังจากสัตว์ป่วยมีสัญญาชีพคงที่แล้วจึงมาประเมินแผล เพื่อวางแผนการจัดการบาดแผลต่อไป

4. 3D หลักในการประเมินบาดแผล

Degree trauma of wound ระดับความรุนแรงของแผลฅ

Degree of contamination ระดับการปนเปื้อนของแผล

- clean wound  แผลสะอาด

- clean-contaminated wound แผลปนเปื้อนเชื้อโรคเล็กน้อย

- contaminated wound แผลปนเปื้อน

- dirty wound แผลสกปรก

Duration ระยะเวลาที่เกิดบาดแผล

- แผลที่เกิดภายใน 6 ชั่วโมง ร่วมกับมีความรุนแรง และการปนเปื้อนของเชื้อน้อย อาจพิจารณาเย็บปิดแผลได้

 

 5. การจัดการบาดแผลไม่จำเป็นต้องเย็บปิดเสมอไป

การจัดการบาดแผล สามารถทำได้ทั้งแบบการรักษาแผลเปิด และการเย็บปิด ซึ่งการประเมินบาดแผลเป็นขั้นตอนสำคัญในการเลือกวิธีการจัดการบาดแผล

การรักษาแผลเปิด เหมาะสำหรับแผลที่มีการปนเปื้อนมาก (dirty wound) แผลที่เป็นรู (puncture wound), แผลถลอก (Abrasion wound), แผลไหม้ (Burn wound)

การเย็บปิดแผล

Primary closure เย็บปิดทันทีหลังภายใน 6 ชั่วโมง หลังเกิดบาดแผล เหมาะสำหรับแผลสะอาด (Clean), แผลปนเปื้อนเชื้อโรคเล็กน้อย (clean-contaminated wound)

- Delay Primary closure เย็บปิดหลังจากรักษาแผลเปิด 3 – 5 วัน

- Secondary closure เย็บปิดหลังจากรักษาแผลเปิด 5 - 7 วัน

 

6. แผลที่จำเป็นต้องเย็บปิด แม้ว่าจะมีการปนเปื้อน

แผลที่มีอวัยวะภายในออกมาจากบาดแผล

- แผลที่อยู่ในตำแหน่งที่ถ้าเกิดการหดของบาดแผล แล้วจะทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานผิดปกติไป เช่น บริเวณรูก้น หนังตา ปาก

**สัตว์ป่วยต้องอยู่ในสภาวะที่สามารถรับการผ่าตัดได้ และเจ้าของยินยอมในการผ่าตัด**

7. 3 ขั้นตอนการล้างทำความสะอาดแผล 

1. Hair clip โกนขน โดยปัตตาเลี่ยน ไม่แนะนำให้ใช้ใบมีดเพราะทำให้ผิวหนังบาดเจ็บได้

2. Skin sterilize ทำความสะอาดผิวหนังรอบบาดแผล

3. Lavage & debride

Lavage การชะล้างสิ่งสกปรก หรือเชื้อออกจากบาดแผล โดยใช้น้ำเกลือ (เหมาะกับแผลที่ปนเปื้อนน้อยถึงปานกลาง )  หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อ (เหมาะกับแผลที่ปนเปื้อนมาก)

Debride  การกำจัดเนื้อตาย และสิ่งปนเปื้อนออกจากบาดแผล เพื่อส่งเสริมการหายของแผล

- Selective ทำลายเฉพาะเนื้อตาย วิธีที่นิยมคือ Autolytic debridement เป็นการส่งเสริมกระบวนการหายของแผลตามธรรมชาติด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแผล

- Non selective ทำลายเนื้อเยื่อปกติด้วย มี 2 วิธี

           * Surgical การตัดเนื้อตาย

           * Mechanical การใช้แรงดันในการล้างแผล, การใช้ผ้าก๊อตแห้ง หรือเปียกในการลอกเนื้อเยื่อ

 

8. ผ้าปิดแผลมีผลต่อกระบวนการหายของแผล ผ้าปิดแผล ประกอบไปด้วย 3 ชั้น ได้แก่

1. Primary layer

  - เป็นชั้นที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นชั้นที่ติดกับบาดแผล

  - ต้องช่วยรักษาความชุ่มชื้นของแผล ไม่ยึดติดบาดแผลขณะลอกออก ไม่ระคายเคือง

  - แผลแต่ละชนิด เหมาะกับผ้าปิดแผลต่างกัน

2. Secondary layer

 - เป็นชั้นดูดซับสิ่งคัดหลั่ง พยุงผ้าปิดแผลชั้นแรก

3. Tertiary layer

 - ชั้นนอกสุดของผ้าปิดแผล

 - ป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก พยุงผ้าปิดแผลชั้นแรก และชั้นสอง

....................

บทความโดย

สพ.ญ.อภิลักษณ์  มหัธนันท์
..................
#เครื่องมือสัตวแพทย์#คลินิกสัตวแพทย์#โรงพยาบาลสัตว์#อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง#อุปกรณ์สัตวแพทย์#BEC#becvet#BECpremium
#ครบจบที่BEC