dogbite-Rabies
ปลายปี 2566 พบการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในภาคใต้ และยังคงมีรายงานการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าในบ้านเราอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสุนัข (รายงานการติดเชื้อในประเทศไทย http://www.thairabies.net/trn/home/detailreport) โรคนี้สามารถติดต่อได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดรวมถึงคน โดยส่งเชื้อผ่านทางน้ำลาย จากการกัด, เลียบริเวณแผล หรือเยื่อเมือก
เจ้าของต้องทำอย่างไรเมื่อสัตว์เลี้ยงโดนกัด
โรคพิษสุนัขบ้า เป็นโรคที่มีวัคซีนป้องกัน และเป็นวัคซีนหลักที่น้องหมาน้องแมวต้องฉีดทุกตัว โดยเริ่มฉีดครั้งแรกที่อายุ 12 สัปดาห์ และครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 2 – 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นกระตุ้นซ้ำทุก 1 ปี ส่วนในสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ เช่น กระต่าย หนูแฮมสเตอร์ การให้วัคซีนพิษสุนัขบ้า ควรพิจารณาให้วัคซีนตามความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ พื้นที่การเกิดโรค และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสัตวแพทย์ เนื่องจากเป็นการใช้แบบนอกเหนือจากที่ระบุในฉลาก (extra-label use) ยกเว้น การให้วัคซีนใน Ferret ซึ่งจะเริ่มเข็มแรกที่อายุมากกว่า 3 เดือน และครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 3 – 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นกระตุ้นซ้ำทุก 1 ปี
การฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยง นอกจากจะเป็นการดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณแล้ว ยังเป็นการดูแลตัวคุณเองอีกด้วย
..............................
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค : ใส่ลิงค์บทความ เรบีส์ (Rabies) โรคที่ไม่เคยหายไปจากสังคมไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก คู่มือเวชปฏิบัติ เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563